ThaiWinner

แผนธุรกิจ คืออะไร? ข้อดีข้อเสียและองค์ประกอบ

แผนธุรกิจ คืออะไร? ข้อดีข้อเสียและองค์ประกอบ

เรื่องของธุรกิจมีความละเอียดอ่อนอยู่ในตัวเองเสมอ ไม่ว่าประเภทใดก็ตาม สังเกตว่าคนที่ทำธุรกิจมีเยอะ แต่ถ้ามองถึงคนที่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ย่อมไม่ใช่ทั้งหมด สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจเป็นไปตามแผนที่คาดหวังคือต้องมี “แผนธุรกิจ” ที่ถูกต้อง

สิ่งนี้คือปัจจัยสำคัญในการช่วยให้บรรดาผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการมองเห็นภาพรวมได้กว้างขึ้น มีการวางแผนล่วงหน้าตามหลักความเหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง มีแนวทางแก้ไขปัญหาชัดเจน อีกทั้งยังช่วยให้คนที่ทำงานร่วมกันเข้าใจจุดประสงค์ได้ง่ายขึ้นด้วย ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจถึงความสำคัญและการนำไปใช้งานอย่างถูกต้อง มาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันว่า แผนธุรกิจ มีอะไรน่าสนใจบ้าง

แผนธุรกิจ คืออะไร

Business Plan หรือ แผนธุรกิจ คือ เครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการทุกคนสามารถสร้างธุรกิจของตนเองขึ้นมาได้ตามแผนงานที่ถูกคิดค้นและวางเอาไว้ แผนธุรกิจคือ “คู่มือ” ในการทำธุรกิจ เพราะทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และ SMEs ก็จำเป็นต้องมีการวางแผนก่อนลงมือทำจริง

เราต้องทำแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับการดำเนินงาน เพื่อเป็นตัวช่วยในการวางโครงสร้างและตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ และให้ธุรกิจเติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้อง

เนื้อหาสำคัญในแผนธุรกิจจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจนั้น ๆ เอาไว้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก และสิ่งอื่น ๆ ที่มีผลกระทบกับการดำเนินกิจการ เพราะโดยธรรมชาติคนที่ต้องการมีธุรกิจมักจะมองถึงอนาคตและสร้างไอเดียในการทำงานของตนเองขึ้นมา

แต่ถ้าหากไม่มีวิธีบริหารจัดการหรือแผนงานที่เหมาะสม มองไม่เห็นข้อมูลในทุกมิติของธุรกิจ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาได้มากมายในอดีตการวางแผนธุรกิจนี้จะใช้ลักษณะของวิธีสร้าง Mind Map หรือการลิสต์ข้อมูลเอาไว้ในกระดาษ แต่ปัจจุบันเมื่อโลกมีความทันสมัยมากขึ้นก็สามารถวางแผนได้ผ่านมือถือหรืออุปกรณ์ไอทีชนิดต่าง ๆ

ข้อดีและข้อเสียของการเขียนแผนธุรกิจ

เป็นเรื่องปกติในการทำสิ่งใดก็ตามย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียปะปนกันไป การเขียนแผนธุรกิจเองก็เช่นกัน และเพื่อให้ผู้ที่สนใจจะจัดตั้งธุรกิจของตนเองหรือคนมีธุรกิจอยู่แล้วทว่ายังไม่มีแผนชัดเจน ลองนำเอาข้อดีข้อเสียของการเขียนแผนธุรกิจเหล่านี้ไปพิจารณาว่าควรปรับอย่างไรให้เหมาะสมกับงาน สร้างความทันสมัยและช่วยให้เติบโตอย่างมีแบบแผนเหมาะสม

ข้อดีของการเขียนแผนธุรกิจ

#1 มองเห็นภาพรวมของธุรกิจทั้งหมด.

ประเด็นแรกอันถือว่าเป็นข้อดีหลักสำหรับผู้ประกอบการทุกคนที่มีการเขียนแผนธุรกิจนั่นคือ จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมทั้งหมดของธุรกิจว่าเป็นอย่างไรบ้าง คำว่าภาพรวมตรงนี้เสมือนกับการยืนอยู่ด้านนอกแล้วมองลงไปในพื้นที่ใดสักแห่ง

ธุรกิจเองก็เช่นกัน การมีแผนธุรกิจจะช่วยให้เข้าใจถึงแนวทางที่เกิดขึ้นทั้งหมด อาทิ ต้นทุน, ค่าใช้จ่าย, ผลกำไร, จุดเด่น จุดด้อยของธุรกิจ, ความคุ้มค่าของการลงทุน ฯลฯ พอเห็นภาพเหล่านี้ก็แยกต่อไปได้ว่าสิ่งไหนดีแล้วควรทำต่อไป สิ่งไหนยังไม่ถูกต้องก็ปรับแก้ไขให้เหมาะสม เพื่อการดำเนินธุรกิจที่เติบโตยิ่งขึ้น

#2 ผ่อนภาระในด้านบริหารจัดการและการแก้ไขปัญหา

เป็นข้อดีต่อยอดมาจากเรื่องแรก เมื่อมีการมองเห็นภาพรวม รู้จุดบกพร่องของธุรกิจแล้วก็รีบดำเนินการแก้ไขจะช่วยลดภาระในด้านบริหารจัดกาลงไปได้เยอะมาก ไม่ต้องมานั่งปวดหัวว่าปัญหานี้เกิดจากอะไร แล้วควรแก้ไขอย่างไร เพราะได้มีการวางแนวทางเอาไว้คร่าว ๆ หมดแล้ว เพียงแค่เลือกหยิบนำมาใช้ว่าควรเอาวิธีไหนเพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว เมื่อความยุ่งยากในการแก้ปัญหาตรงนี้น้อยลงก็ช่วยให้เจ้าของกิจการมีความคิดอยากต่อยอดด้านอื่น ๆ ไปอีก

#3 มองเห็นช่องทางในการเติบโต

ในการวางแผนธุรกิจ ไม่ใช่แค่การนำเอาเทคนิค วิธีต่าง ๆ มาใช้เพื่อให้การจัดการภายในมีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการช่วยสร้างความเติบโต ความก้าวหน้าให้กับองค์กรมากขึ้นด้วย พอทำได้ตามแผนที่วางเอาไว้ในขั้นแรก ก็จะมีการวางแผนเพิ่มเติมเพื่อขยับตัวให้ใหญ่ขึ้นทีละระดับ มองเห็นว่ามีช่องทางใดบ้างที่ช่วยสร้างโอกาสในการพัฒนาก้าวสู่ความสำเร็จไปอีกขั้น

หลายธุรกิจขนาดใหญ่ก็เริ่มต้นจากการเป็น SMEs เล็ก ๆ แต่เมื่อมีการวางแผนธุรกิจที่ดี ก็ช่วยให้เติบโตเพราะมองเห็นช่องทางหรือจุดแข็งของธุรกิจว่าควรเลือกวิธีไหนในการขยายองค์กรของตนเอง

#4 มีการดำเนินงานตามขั้นตอนชัดเจน

การทำงานให้เป็นไปตามขั้นตอนอันเหมาะสม คืออีกหัวใจสำคัญที่ทุกธุรกิจต้องมี ถ้าต่างคนต่างทำผลลัพธ์ที่ได้ย่อมไม่สอดคล้องและทำให้ธุรกิจเกิดผลเสียมากกว่าได้ ดังนั้นเมื่อมีแผนธุรกิจชัดเจนก็จะช่วยให้ทุกคนรู้ว่าควรดำเนินการอย่างไรให้เป็นตามแนวทางที่วางเอาไว้ โอกาสการเกิดข้อผิดพลาดก็ลดน้อยลง และได้ผลตามเป้าหมายที่คาดหวัง สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริหารตั้งแต่แรก

#5 เพิ่มทุนให้กับธุรกิจได้จริง

บรรดานักธุรกิจหน้าใหม่ที่ต้องการกู้เงินจากสถาบันการเงินอาจไม่รู้ว่า ก่อนจะกู้ได้นั้นต้องมีการเขียนแผนธุรกิจให้กับสถาบันฯ ประเมินว่ามีความเหมาะสมเพื่อปล่อยกู้มากน้อยเพียงใด หากแผนธุรกิจมีความชัดเจน ทุกอย่างสอดคล้องและมีโอกาสทำได้จริง การปล่อยสินเชื่อก็จะง่ายขึ้น ในทางกลับกันหากแผนธุรกิจไม่มีหลักชัดเจน เขียนแล้วไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่อง หรือไม่มีแผนธุรกิจใด ๆ ไปนำเสนอ โอกาสการปล่อยสินเชื่อจะลดลงกว่าครึ่งเลยทีเดียว

ข้อเสียของการเขียนแผนธุรกิจ

#1 เกิดความล่าช้าในการจัดตั้งหรือดำเนินธุรกิจ.

ถ้ายิ่งวางแผนธุรกิจนานเท่าไหร่ ก็จะเกิดความล่าช้าในการจัดตั้งหรือดำเนินธุรกิจมากเท่านั้น ตรงนี้ถือเป็นความผิดพลาดสำหรับคนที่คิดนานเพราะมักมองถึงความรอบคอบและความปลอดภัยมากที่สุดในการทำธุรกิจ จึงถือเป็นข้อเสียที่อาจทำให้คู่แข่งก้าวไปข้างหน้าเร็วกว่าและกลายเป็นผู้นำตลาดแทน คราวนี้ต่อให้แผนธุรกิจดีแค่ไหนก็อาจกลายเป็นผู้ตามแบบถาวร

#2 ทฤษฎีกับปฏิบัติย่อมมีความแตกต่างกัน

นี่คือเรื่องปกติของการทำงาน ระหว่างภารทฤษฎีกับภาคปฏิบัติมักมีความแตกต่างกันอยู่แล้ว ทั้งปัจจัยต่าง ๆ ที่แวดล้อมในขณะเกิดปัญหา หรือรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้นการยึดติดกับแผนธุรกิจเพียงอย่างเดียวอาจไม่ช่วยแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นได้เท่าไหร่นัก หากผู้บริหารไม่มองภาพความเป็นจริงและยึดติดกับทฤษฎีที่ตนเองมั่นใจมากจนเกินไป

#3 แผนบางอย่างเกินขีดความสามารถที่จะปฏิบัติจริง

เข้าใจดีว่าเวลาวางแผนธุรกิจย่อมต้องนำเอาแนวทางต่าง ๆ มาสร้างเป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์แบบมากที่สุด แต่อย่าลืมว่าขีดจำกัดในการทำงานของแต่ละธุรกิจย่อมต่างกันออกไป เช่น ความสามารถของบุคคล, เงินทุน, กฎหมาย ฯลฯ ดังนั้นบ่อยครั้งที่แผนบนกระดาษอาจดูสวยหรู แต่เมื่อนำไปปฏิบัติจริงแล้วไม่สามารถทำตามได้ทั้งหมดจากข้อจำกัดบางอย่าง ผลลัพธ์ที่ออกมาจึงไม่เป็นตามเป้าหมาย สร้างความผิดพลาดในการบริหารจัดการให้เกิดขึ้น

องค์ประกอบของแผนธุรกิจ ที่ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จ

มาถึงส่วนสำคัญสำหรับคนที่กำลังจะสร้างธุรกิจหรือเริ่มต้นธุรกิจของตนเองไปแล้วและอยากมีแผนธุรกิจที่ถูกต้อง ก็จำเป็นต้องรู้องค์ประกอบทั้งหมดเพื่อให้เกิดการวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างโอกาสแห่งความสำเร็จในการทำกิจการ ลองมาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

เป็นแนวทางความคิดและการบอกแนวทางที่ชัดเจนของผู้บริหารว่าต้องการให้ธุรกิจเป็นอย่างไรบ้าง พยายามบอกความสำคัญของธุรกิจดังกล่าวออกมาให้ชัดเจน การสร้างความน่าสนใจที่จะช่วยสร้างการเติบโตในอนาคตได้จริง ไม่ใช่แผนในจินตนาการ ถ้าอธิบายกันแบบเข้าใจง่ายก็คือ การบอกแนวคิดทั้งหมดของผู้บริหารในการสร้างธุรกิจตัวนี้ขึ้นมาว่าเป็นอย่างไรบ้าง ข้อไหนมีโอกาสทำได้จริง และข้อไหนต้องอาศัยแนวทางอื่น ๆ เพิ่มเติม จุดเด่น-จุดด้อยของสินค้า / บริการ ที่คิดว่าใช่ของตนเองมีอะไรบ้าง

#2 ภาพรวมกิจการ

เป็นการเขียนภาพรวมคร่าว ๆ ว่ากิจการนี้เป็นอย่างไร มีรูปแบบดำเนินการ การหาต้นทุน หาลูกค้าอย่างไรบ้าง กำหนดกลุ่มเป้าหมาย สร้างช่องทางการตลาด มีเป้าหมายระยะสั้น ระยะยาว ฯลฯ ข้อนี้จะช่วยให้ทุก ๆ คนที่อ่านเข้าใจถึงแนวทางในการทำธุรกิจของผู้เขียนได้ชัดเจนขึ้น และมองเห็นถึงภาพรวมความน่าจะเป็นที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจเมื่อปฏิบัติตามแนวทางที่เหมาะสม

#3 การวิเคราะห์ SWOT Analysis

หากบอกว่านี่คือหัวใจสำคัญของแผนธุรกิจคงไม่ใช่เรื่องผิดนัก เพราะมันคือการวิเคราะห์จุดเด่นจุดด้อยที่มาจากปัจจัยภายในและภายนอกของธุรกิจว่ามีอะไรที่โดเด่นและมีจุดไหนที่ต้องปรับแก้ไข โดยการวิเคราะห์ SWOT สามารถแบ่งลิสต์ออกได้ดังนี้

S = Strength จุดแข็ง เป็นการวิเคราะห์จุดแข็งภายในองค์กรของตนเองว่ามีอะไรที่นับเป็นความพิเศษซึ่งเหนือกว่าธุรกิจอื่น เช่น สินค้ามีคุณภาพ, มีระบบการชำระเงินหลายช่องทาง, เปิดให้บริการตลอด 24 ชม., เป็นสินค้าใหม่ที่ยังไม่เคยมีในตลาดมาก่อน ฯลฯ เป็นปัจจัยภายในที่สามารถควบคุมและพัฒนาให้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ

W = Worth จุดอ่อน การวิเคราะห์จุดอ่อนที่เกิดขึ้นในองค์กรว่าเรื่องไหนที่ยังต้องแก้ไข ด้วยความเป็นปัจจัยภายในจึงถือว่ายังพอควบคุมได้ และสามารถปรับปรุงเพื่อให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม เช่น มีพนักงานน้อยไม่เพียงพอต่อการผลิต, ราคาขายสูงกว่าคู่แข่ง, มีช่องทางการขายน้อยเกินไป ฯลฯ

O = Opportunity โอกาส การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกธุรกิจอันถือเป็นโอกาสที่จะช่วยให้เกิดการเติบโตได้จริงในอนาคต เช่น กฎหมายใหม่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจมากขึ้น, กระแสพฤติกรรมผู้บริโภคที่เน้นเทรนด์เดียวกับสินค้า / บริการ เป็นต้น

T = Threat อุปสรรค ปิดท้ายด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกในด้านของอุปสรรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับธุรกิจ เป็นปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้แต่ต้องพยายามหาทางแก้ไข เช่น การเกิดโรคระบาด, การสั่งห้ามของกฎหมายใหม่ในบางประเภทสินค้า ฯลฯ

ส่วนนี้เป็นแค่ข้อมูลเบื้องต้น หากอยากได้รายละเอียดด้านการเขียน SWOT สามารถอ่านได้ที่บทความนี้ SWOT คืออะไร

#4 แผนการตลาด

ในการเขียนแผนธุรกิจจำเป็นต้องวางแผนการตลาดให้ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางบริหาร พร้อมวิเคราะห์ความเหมาะสมในการทำธุรกิจที่จะเกิดขึ้นว่าควรเป็นทิศทางใด หลัก ๆ แล้วแผนการตลาดทั่วไปจะมีอยู่หลายส่วนแต่สิ่งที่ต้องมีแน่ ๆ คือ การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย, การแบ่งส่วนการตลาด กำหนดตำแหน่งธุรกิจ, หลัก 4P’s (Product, Price, Place, Promotion), 4C’s (Consumer Needs, Consumer Benefits, Convenience, Communication) และการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกลุ่มเป้าหมาย

เรื่องของแผนการตลาดก็มีรายละเอียดเยอะเช่นกัน ผมแนะนำให้อ่านบทความเรื่อง การเขียนแผนการตลาด และ การวิเคราะห์ 4P นะครับ

#5 แผนบริหารจัดการภายในองค์กร

เมื่อมีการวางแผนในด้านของปัจจัยต่าง ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจเติบโตในตลาดแล้ว ก็ต้องหันกลับมามองในเรื่องการพัฒนาองค์กรด้วย หลัก ๆ แล้วแผนในด้านนี้จะเน้นเรื่องทั่วไปขององค์กรเป็นหลักเพื่อให้เกิดแนวทางบริการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การมีสถานที่ตั้งเหมาะสมกับการดำเนินงาน, โครงสร้างผู้บริหารและผู้รับผิดชอบตำแหน่งต่าง ๆ, เครื่องมือ เครื่องจักร เป็นต้น

#6 แผนการดำเนินงาน

เมื่อมีแผนที่ช่วยจัดการภายในองค์กรก็ต้องต่อด้วยแผนสำหรับการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับการสร้างประสิทธิภาพจนเกิดผลลัพธ์อันน่าพึงพอใจ เช่น มีการวางระบบของแต่ละฝ่ายงาน วางหน้าที่ชัดเจน, กระจายระบบการทำงาน, แบ่งกะเวลาเพื่อให้การผลิตเพียงพอต่อความต้องการ, การสร้างมาตรฐานในการทำงานอย่างชัดเจน, มีกฎระเบียบให้พนักงานปฏิบัติตามไปในทิศทางเดียวกัน เป็นต้น

#7 แผนการเงิน

ในการทำธุรกิจต้องมีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การวางแผนเรื่องนี้ควบคู่ไปด้วยจะช่วยให้บริหารง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการขาดทุนในทุก ๆ ด้าน ซึ่งแผนการเงินต้องเริ่มตั้งแต่การนำเอาทุนจากส่วนต่าง ๆ มารวมกัน, รายรับ – รายจ่าย, ภาษี, ต้นทุน, ยอดขาย, กำไร – ขาดทุน, ค่าเสื่อมสินทรัพย์, การมีสินค้าคงคลัง, ค่าใช้จ่ายเสียเปล่า, ลูกหนี้การค้า – เจ้าหนี้การค้า ฯลฯ โดยส่วนใหญ่จึงต้องมีผู้เชี่ยวชาญในด้านบัญชีเข้ามาแนะนำหรือเป็นผู้ร่วมเขียนแผนธุรกิจในด้านนี้ด้วย

#8 แผนสำรองหรือแผนฉุกเฉิน

ท้ายที่สุดในการเขียนแผนธุรกิจย่อมต้องมีแผนสำรองหรือแผนฉุกเฉินเอาไว้เสมอ เพราะอย่างที่รู้กันว่าแผนที่เขียนไปนั้นเป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับคาดการณ์ความน่าจะเป็น แต่เมื่อลงมือทำจริง ๆ แล้วอาจไม่เกิดขึ้นอย่างที่คิดไว้ การมีแผนสำรองนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้อย่างทันท่วงที ลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดปัญหาที่ใหญ่โตมากขึ้นจนเกินการควบคุม ตัวอย่างบางเรื่องที่ควรมีแผนสำรองเอาไว้

เช่น วางแผนด้านช่องทางการขายออนไลน์ แต่ยอดขายไม่เป็นตามเป้า จึงต้องเปลี่ยนมาใช้ออฟไลน์แทน, วัตถุดิบต่างประเทศไม่สามารถนำเข้าได้ ต้องเปลี่ยนมาใช้ของในไทย, สินค้าซ้ำกับแบรนด์อื่น ต้องเปลี่ยนวัตถุดิบเพื่อสร้างความแตกต่าง, มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าที่คาดไว้ ต้องลดบางส่วนลงเพื่อให้ได้กำไรตามเป้าหมาย, หุ้นส่วนบางคนไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน เป็นต้น

ทั้งหมดนี้คือเรื่องของแผนธุรกิจที่คนทำธุรกิจทุกคนควรรู้และมีการทำเอาไว้เสมอ ซึ่งการทำแผนดังกล่าวไม่ใช่แค่การเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่เท่านั้น แต่คนที่ทำมานานก็สามารถวางแผนได้เรื่อย ๆ หรือมีการปรับเปลี่ยนให้เกิดความเหมาะสมอยู่ตลอดได้อย่างไร้ปัญหา

เพราะส่วนใหญ่การเขียนแผนเหล่านี้จะแบ่งเป็นแผนระยะสั้น 1-2 ปี, แผนระยะกลาง 5-7 ปี และแผนระยะยาวมากกว่า 10 ปี ขึ้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับความเหมาะสมในการทำธุรกิจแต่ละประเภท การเขียนแผนธุรกิจที่ดีย่อมเพิ่มโอกาสในการบริหารให้ประสบความสำเร็จดังที่คาดหวังไว้ และช่วยเพิ่มการเติบโตในอนาคต นี่จึงเป็นสิ่งที่คนทำธุรกิจทุกคนต้องสัมผัสและพยายามทำออกมาให้ดีที่สุดด้วย

สำหรับคนที่อยากได้ตัวช่วยในการเขียนแผนธุรกิจเพิ่มเติม ลองดู คู่มือการเขียนแผนธุรกิจของผมได้นะครับ

เจ้าของบล็อก TWN ชอบอ่านหนังสือและข่าวธุรกิจทั้งในไทยและนอกประเทศ พออ่านมาเยอะก็เลยอยากนำความรู้มาแบ่งปัน

บทความล่าสุด

Design Thinking คืออะไร? การคิดเชิงออกแบบใน 5 ขั้นตอน

ทุกคนรู้ดีว่านวัตกรรมสำคัญแค่ไหน นวัตกรรมพัฒนาชีวิต...

วิธีเขียนแผนธุรกิจ - โครงสร้างต่างๆของ Business Plan

หลายคนอาจจะมองว่าแผนธุรกิจเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ ใช้เวลาทำเยอะ...

sophony.co Logo

Business Model and Value Designer by sophony.co

  • แผนธุรกิจ (Business Plan) คืออะไร

— last updated:

first published:

แผนธุรกิจ (Business Plan) คืออะไร

มีผู้อ่านสอบถามมาเยอะมาก ว่า Business Model เหมือนหรือแตกต่างกับ แผนธุรกิจ (Business Plan) ไหม ถ้าอยากทำธุรกิจ ควรทำ โมเดลธุรกิจ (Business Model) หรือ แผนธุรกิจ (Business Plan) ดี วันนี้ชวนมาทำความรู้จักแผนธุรกิจ (Business Plan) ในเบื้องต้นกันก่อนครับ

1. แผนธุรกิจ (Business Plan) คืออะไร

แผนธุรกิจ (Business Plan) คือ แผนการดำเนินงานธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย โดยครอบคลุมแผนธุรกิจด้านต่างๆ อย่างครบถ้วน ได้แก่ ด้านการตลาด ด้านการจัดการ ด้านการดำเนินงาน ด้านการเงิน รวมถึงการจัดการความเสี่ยง

แผนธุรกิจ (Business Plan) คือ แผนการดำเนินงานธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย โดยครอบคลุมแผนธุรกิจด้านต่างๆ อย่างครบถ้วน โสภณ แย้มกลิ่น

2. แผนธุรกิจ (Business Plan) มีกี่ประเภท

แผนธุรกิจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

A. แผนธุรกิจเพื่ออธิบายการดำเนินงานปัจจุบัน

แผนธุรกิจแบบนี้ จะเหมาะกับธุรกิจที่ดำเนินงานอยู่แล้วในปัจจุบัน แต่ไม่เคยมีแผนธุรกิจที่เป็นรูปแบบมาก่อน เช่น ทำธุรกิจอยู่แล้ว ธุรกิจพอไปได้นะ ของก็พอขายได้ แต่เจ้าของไม่เคยจด หรือมีอะไรเป็นรูปแบบเลย ไม่รู้เลยว่าลูกค้ามีกี่กลุ่ม ขายก็ขายได้ แต่ไม่รู้ขายสินค้าแต่ละชนิดเท่าไหร่ กำไรต่อชิ้นเป็นยังไง ของซื้อจากไหนก็รู้ แต่ไม่รู้ว่าใครบ้าง ธุรกิจมีกำไรหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจ รู้แค่มีเงินจ่ายพนักงาน ฯลฯ

ผู้ประกอบการกลุ่มที่ควรพัฒนาแผนธุรกิจแบบนี้ คือ ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจยังไม่เป็นระบบ เช่น เกษตรกรรายย่อย ร้านขายของชำ Micro Enterprise, SME ขนาดเล็กๆ ร้านขายของชำ เป็นต้น

โดยเฉพาะธุรกิจครอบครัว ธุรกิจส่วนตัว ที่บริหารคนเดียว แบบ “ทุกอย่างอยู่ในหัวฉัน” หากธุรกิจไหนเข้าข่ายแบบนี้ ควรเขียนแผนธุรกิจอย่างยิ่ง เพราะหากเราไม่อยู่ หากไม่เขียนแผนธุรกิจไว้ ลูกหลานจะไม่รู้เลยว่าติดต่อใคร ทำอย่างไร ซื้อของที่ไหน เป็นต้น

การพัฒนาแผนธุรกิจแบบนี้ จะช่วยจัดระบบความคิด รวมถึงจัดระบบธุรกิจตัวเองได้เป็นระบบขึ้น หากธุรกิจต้องการเพิ่มทุน เช่น กู้ธนาคาร หรือ ชวนคนอื่นมาลงหุ้นเพิ่ม เค้าจะถามเราว่า “แล้วธุรกิจปัจจุบันพี่เป็นยังไงครับ” “ลูกค้ามีใครบ้างคะ” “ขายได้เดือนละเท่าไหร่ครับ” ก็สามารถให้เค้าอ่านแผนธุรกิจของเราได้เลย

B. แผนธุรกิจเพื่อพัฒนาธุรกิจใหม่ในอนาคต

แผนธุรกิจแบบนี้ เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ และอยากจะวางแผนให้กับสินค้าและบริการนั้นๆ เช่น สินค้าใหม่อันนี้จะขายใครดี ควรเลือกใครเป็นกลุ่มลูกค้า จะผลิตที่ไหน จะขายชิ้นละกี่บาท ถ้าขายแล้วจะกำไรกี่บาท เป็นต้น

แผนธุรกิจแนวนี้ เป็นแผนธุรกิจที่มีความเป็นแผนกลยุทธ์ (Strategic Plan) อยู่สูง คือ ต้องเน้นการวิเคราะห์หลายสิ่งประกอบด้วย เช่น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก การวิเคราะห์อุตสาหกรรม การวิเคราะห์คู่แข่ง การวิเคราะห์ตัวเอง เป็นต้น

(ซึ่งการวิเคราะห์ต่างๆ แผนธุรกิจแบบแรกก็มีนะ แต่ไม่สำคัญเท่าการพัฒนาแผนเพื่อธุรกิจใหม่แบบนี้ เพราะเราจะต้องไปขายสินค้าและบริการในตลาดใหม่)

แผนธุรกิจแบบนี้ จึงเหมาะกับธุรกิจทุกประเภทที่ต้องการพัฒนาธุรกิจใหม่ สินค้าใหม่ บริการใหม่ ซึ่งควรมีแผนล่วงหน้าก่อนจะดำเนินการจริง แต่ขั้นตอนการวิเคราะห์ ก็จะซับซ้อน และ ต้องใช้ทรัพยากรมากกว่าแผนแบบแรกครับ

แต่ไม่ว่าจะเขียนธุรกิจสำหรับธุรกิจปัจจุบัน (A) หรือธุรกิจในอนาคต (B) รูปแบบแผนธุรกิจจะใกล้เคียงกัน แต่การให้ความสำคัญอาจจะแตกต่างกัน

ถ้าเขียนแบบ A จะเน้นการอธิบายสิ่งที่เป็นในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร

แต่ถ้าเขียนแบบ B มักเน้นการวิเคราะห์ธุรกิจใหม่เป็นหลัก หลายครั้ง เป็นแผนธุรกิจเฉพาะสินค้าและบริการใหม่โดยเฉพาะไปเลย ไม่ได้เป็นแผนธุรกิจของทั้งองค์กร

3. แผนธุรกิจ (Business Plan) ประกอบด้วยอะไรบ้าง

อ่านมาถึงตรงนี้ ถ้าอยากเขียนแผนธุรกิจของตัวเอง ลองมาดูว่าแผนธุรกิจประกอบด้วยอะไรบ้างอย่างคร่าวๆ ครับ

ส่วนที่ 1 : บทนำ

ส่วนนี้จะเป็นส่วนบทนำ (Introduction) เช่น ปก สารบัญต่างๆ แต่ส่วนสำคัญของส่วนบทนำที่ควรจะมีคือ

  • เหตุผลที่เขียนธุรกิจ เพื่ออธิบายว่าเขียนแผนเพื่ออะไร (เพื่อ A หรือ B) จะเอาไปทำอะไร
  • บทสรุปผู้บริหาร สำหรับคนที่ไม่อยากอ่านแผนธุรกิจทั้งเล่ม ก็อ่านบทสรุป 1 – 2 หน้าพอ (สาระสำคัญคือ ธุรกิจคุณกำไรเท่าไหร่ ใส่ไปด้วยนะ)
  • ความเป็นมาของธุรกิจ อาจจะเล่าประวัติสำหรับธุรกิจที่เปิดมานานแล้ว หรือ หลายครั้งถ้าเขียนแผนแบบ B คนจะเอา Problems ของลูกค้ามาอธิบายตรงนี้ แล้วอธิบายว่าธุรกิจของเราช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้อย่างไรบ้าง
  • รายละเอียดของสินค้าและบริการของเรา เพื่ออธิบายให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมว่า ตกลงเราทำธุรกิจอะไรอย่างสรุป (ถ้าอยากรู้แบบละเอียดๆ ก็ไปอ่านส่วนที่ 2)
  • การวิเคราะห์สถานการณ์ในปัจจุบัน จะรวมถึงการวิเคราะห์อุตสาหกรรม การสถานการณ์ทางธุรกิจในปัจจุบันครับ (อีกแนวนึงมักเอาส่วนนี้ไปใส่ในแผนการตลาดในส่วนที่ 2)
  • Business Model หลายคนใส่ Business Model ธุรกิจในส่วนนี้ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมก่อนอ่านรายละเอียดแผนธุรกิจ

ส่วนที่ 2 : เนื้อหาหลัก

ส่วนนี้เป็นส่วนประกอบหลักของแผนธุรกิจครับ จะประกอบด้วยแผนการดำเนินงานหลักของธุรกิจในด้านต่างๆ ดังนี้

แผนการจัดการ (Management Plan)

จะเป็นคล้ายๆ แผนการจัดการ (Management) + การจัดการบุคคล (HR) โดยมากจึงอธิบายพวก พวก Vision Mission Goals ของธุรกิจ อธิบายว่าธุรกิจตั้งแบบไหน (เจ้าของคนเดียว หจก บริษัท) และแผนกการจัดการด้านบุคคล เช่น เจ้าของคือใคร พนักงานคือใคร พนักงานกี่คน กี่แผนก อะไรแบบนี้

แผนการตลาด (Marketing Plan)

จะเป็นเกี่ยวกับการตลาดทั้งหมด อาจแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนการวิเคราะห์สภาวะทางการตลาดปัจจุบัน เช่น วิเคราะห์อุตสาหกรรม จะใช้ PEST , PESTEL , STEEP ฯลฯ อะไรก็ได้ที่ถนัด วิเคราะคู่แข่ง วิเคราะห์จุดแข่งจุดอ่อน วิเคราะห์ตลาดและลูกค้าเป้าหมาย เป็นต้น

อีกส่วนนึงจะเป็นการวางแผนด้านสินค้าและบริการ ผ่านการใช้ 4P, 7P เช่น รายละเอียดของสินค้าและบริการมีกี่แบบ อะไรบ้าง แต่ละแบบราคาเท่าไหร่ ขายที่ไหน ช่องทางไหนบ้าง แนวนี้

แผนการดำเนินงาน (Operation Plan)

จะเป็นเกี่ยวกับการได้มาของสินค้าและบริการ ถ้าเป็นสินค้าที่ผลิตเพื่อขาย ก็จะเขียนเป็นแผนการผลิต (Production Plan) ไปเลย เช่น ซื้อวัตถุดิบที่ไหน กี่บาท เครื่องจักรอะไรบ้างที่ต้องใช้ กระบวนการผลิตเป็นอย่างไร เป็นต้น

ถ้าเป็นธุรกิจซื้อมาขายไปก็อธิบายอีกแบบ ไปซื้อที่ไหนมา เท่าไหร่ มี Supplier กี่เจ้า

ส่วนถ้าเป็นธุรกิจบริการ ก็จะเขียนเป็นแผนการบริการ (Service Plan) แทน เช่น ไปพนักงานนวดมาจากไหน จะเทรนพนักงานนวดยังไง มีกระบวนการจัดควบคุมคุณภาพยังไงบ้าง เป็นต้น

แผนการเงิน (Financial Plan)

โคตรพ่อโคตรแม่แผน (ขออภัย) เพราะมันเยอะ และ สำคัญมาก มันคือการขมวดทุกแผนเข้าด้วยกันว่า ที่เขียนเล่าในแผนต่างๆ ก่อนหน้านี้เนี่ย ตกลงกำไรหรือเปล่า?

ดังนั้นในแผนการเงินจะประกอบได้ด้วย การประมาณการงบกำไรขาดทุน การทำงบกระแสเงินสด การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน การวิเคราะห์ผลตอบแทนโครงการ และสารพัดแผนทางการเงินที่ต้องการเพิ่ม เช่น จะวิเคราะห์ financial ratio ด้วยก็ได้

แต่ถ้าเขียนแผนให้ธุรกิจเล็กๆ หลายครั้ง เค้าอยากรู้แค่ว่าทุกวันนี้กำไรเท่าไหร่เนี่ย ก็มีนะครับ แบบรับแต่เงิน แต่ไม่รู้ว่ากำไรเท่าไหร่มีเยอะแยะ

ส่วนแผนอื่นๆ ถ้าอยากใส่ก็เพิ่มก็ได้ เช่น แผนการจัดการความเสี่ยง (Risk Management Plan) เป็นต้น

ส่วนที่ 3 : ภาคผนวก

ส่วนนี้จะเป็นพวกตารางต่างๆ ที่เยอะมากไปที่จะใส่ในแผนก็เอามาไว้ในนี้ (เช่น พวกงบล่วงหน้าต่างๆ) รวมถึงเอกสารประกอบต่างๆ เช่น ใบจดทะเบียนการค้า พวกเอกสารอ้างอิงต่างๆ ก็นำมาใส่ในนี้ได้หมดครับ

อ่านมาถึงตรงนี้ จะสรุปได้ว่า แผนธุรกิจ ก็คือ แผนการดำเนินงานของธุรกิจในด้านต่างๆ นั่นเองครับ

แต่ด้วยว่าคำว่าแผนธุรกิจ (Business Plan) มันค่อนข้างกว้างมาก โดยเฉพาะเมื่อคุยผู้ประกอบการหรือคนนอกวงการ ดังนั้น เวลาคุยเรื่องแผนธุรกิจจึงต้องคุยให้ชัดเจนว่าต้องการทำอะไรกันแน่

หรือบางกรณีอาจจะต้องทำอย่างอื่นมาก่อน เช่น อยากจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ (ควรทำ Business Model Design ก่อนทำแผนธุรกิจ) หรือจะเน้นให้วิเคราะห์กลยุทธ์ธุรกิจในปัจจุบัน (ควรทำ Strategic Plan) หรืออยากรู้เทรนธุรกิจในอนาคต (ควรทำ Foresight Analysis แทน) เป็นต้น

หรือในบางกรณี ผู้ประกอบการอยากได้แผนเฉพาะด้านในด้านหนึ่งหรือเปล่า เพราะแผนธุรกิจเป็นแผนแบบภาพรวม ไม่ได้เจาะลึกด้านในด้านหนึ่งโดยเฉพาะ ถ้าผู้ประกอบการอยากรู้ด้านในด้านหนึ่งโดยเฉพาะ ควรเจาะเป็นแผนเฉพาะทางไปเลย เช่น แผนการตลาด (Marketing Plan) แผนการเงิน (Financial Plan) ซึ่งจะได้ข้อมูลที่ลึกซึ้งและครบถ้วนกว่าในด้านนั้นๆ

เขียนมาถึงตรงนี้ ยังไม่ได้เล่าเรื่องความเหมือนและความต่างของ Business Model กับ Business Plan เลย รวมถึงว่า Business Plan ควรเอาไปใช้ตอนไหน ไว้เดี๋ยวมาอธิบายต่อบันทึกหน้านะครับ (เขียนแล้วนะ อ่านต่อได้ที่ Business Model กับ Business Plan ต่างกันอย่างไร )

ถ้าสนใจจะให้ผู้เขียนและทีมงาน พัฒนาแผนธุรกิจหรือแผนด้านอื่นๆ สามารถติดต่อผู้เขียนได้ที่หน้า About ครับ

63636363636363636363636363

อ่านมาถึงตรงนี้ก็ต้องขอบคุณผู้อ่านทุกคนมาก เรื่อง Business Plan และ Business Model คืออะไร เป็นส่วนหนึ่งของซีรีย์โมเดลธุรกิจ (Business Model) ยังมีรายละเอียดที่น่าสนใจกว่านี้อีกมาก เขียนในบันทึกนี้คงไม่พอ ถ้าสนใจจะมาเล่าต่อในบันทึกถัดไปนะครับ ถ้าอยากอ่านเรื่องอื่นเกี่ยวกับการสร้างคุณค่า (Value Proposition Design) รวมถึงเรื่อง Strategy เพิ่มเติม สามารถอ่านได้จากหน้า สารบัญ  

บันทึกนี้อยู่ในซีรีย์นวัตกรรมโมเดลธุรกิจ (Business Model Innovation) สามารถอ่านเรื่องอื่นในซีรีย์เพิ่มเติมได้จาก link

Business Model and Business Model Innovation

Innovation series.

  • นวัตกรรม (Innovation) คืออะไร
  • S Curve คืออะไร
  • The New S Curve คืออะไร
  • Innovation Adoption คืออะไร
  • นวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency Innovation) คืออะไร
  • นวัตกรรมเพื่อต่อยอด (Sustaining Innovation) คืออะไร
  • นวัตกรรมเพื่อธุรกิจใหม่ (Transformative Innovation) คืออะไร

Business Model Series

  • Business Model คืออะไร
  • Business Model คืออะไร: Alex Osterwalder Masterclass in Thailand
  • Business Model Canvas คืออะไร
  • Business Model กับ Business Plan ต่างกันอย่างไร
  • กลุ่มลูกค้า (Customer Segments) คืออะไร
  • ทรัพยากรหลัก (Key Resources) คืออะไร
  • กระแสรายได้ (Revenue Streams) คืออะไร

Business Model Innovation Series

  • Business Model Innovation คืออะไร
  • Business Model Innovation มีกี่แบบ
  • Business Model Shift คืออะไร
  • กลุ่มลูกค้าย่อย (Customer Micro Segmentation) คืออะไร
  • โมเดลธุรกิจขยายตัว (Scalable Business Model) คืออะไร
  • Unfair Advantage คืออะไร

Business Plan Series

โสภณ แย้มกลิ่น (Sophon Yamklin) Avatar

References:

  • Write your business plan by U.S. Small Business Administration

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Wisdom Academy

เทคนิคเขียนแผนธุรกิจสำหรับ Start-UP ให้ประสบความสำเร็จ พร้อมองค์ประกอบง่ายๆ แต่ชัดเจน!

แผนธุรกิจ หรือ Business Plan คือเครื่องมือที่สำคัญในการวางแผนธุรกิจ โดยเฉพาะในธุรกิจ SMEs หรือ Start Up ซึ่งเป็นการรวบรวมแนวความคิด กระบวนการคิดและพิจารณา และการตัดสินใจที่ในการทำธุรกิจ และวิเคราะห์โอกาสทางธุรกิจ เพื่อไว้เป็นคู่มือในการทำธุรกิจ เพื่อเป็นตัวช่วยในการวางโครงสร้างและตัดสินใจทำสิ่งต่างๆให้ธุรกิจเติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้อง

แผนธุรกิจจะช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้ และยังช่วยให้การเริ่มต้นทำธุรกิจง่ายมากยิ่งขึ้น หากคุณใช้แผนธุรกิจเป็นแผนงานสำหรับการจัดการโครงสร้าง ดำเนินการ และขยายธุรกิจใหม่ และเป็นวิธีคิดที่จะผ่านองค์ประกอบสำคัญของธุรกิจได้อีกด้วย และยังช่วยให้นักลงทุนสนใจ หรือมีพันธมิตรทางธุรกิจรายใหม่ และนักลงทุนยังสามารถมั่นใจได้อีกว่าการลงทุนนั้นคุ้มค่า และสามารถสร้างผลตอบแทนได้ในอนาคต

องค์ประกอบของแผนธุรกิจแบบดั้งเดิม

  • บทสรุปผู้บริหาร (Executive summary) เป็นการรวบรวมข้อมูลสำคัญว่าบริษัทของคุณคืออะไร และทำไมบริษัทถึงประสบความสำเร็จ รวมกับพันธกิจ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ และข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับทีมงาน ผู้จัดทำ พนักงานในองค์กร หรือแม้แต่ที่ตั้งบริษัท และข้อมูลการเงินฉบับย่อ และแผนการในการทำธุรกิจในอนาคต
  • ภาพรวมธุรกิจ (Company description) การให้คำอธิบายสั่นๆเพื่อให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับบริษัทของคุณ ลงรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาต่างๆที่ต้องการแก้ไข และกลุ่มเป้าหมาย องค์กร และผลิตภัณฑ์และบริการของธุรกิจ และอธิบายข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน
  • วิเคราะห์การตลาด (Market Analysis) วิเคราะห์ตลาด แนวโน้มอุตสาหกรรม และตลาดเป้าหมายที่ต้องการ พร้อมทั้งศึกษาการแข่งขันในตลาด วิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนของคู่แข่ง และธุรกิจ เพื่อหาข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม SWOT Analysis คืออะไร พร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ในธุรกิจจริง ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนการวิจัยทางการตลาด (Market Research) ฉบับจับมือทำ!
  • แผนการตลาด (Marketing Plan) การเขียนแผนธุรกิจจำเป็นต้องวางแผนการตลาดให้ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการบริหาร และวิเคราะห์หาช่องทางที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย , การแบ่งส่วนตลาด , กำหนดตำแหน่งธุรกิจ, การวาง Marketing Mix (4P’s) และการสร้างแบรนด์ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนการแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) ฉบับจับมือทำ! ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม 5 เงื่อนไขที่ใช้ในการเลือกกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด (Target Market)
  • แผนการบริหารจัดการภายในองค์กร (Organization and management) เมื่อมีการวางแผนในด้านปัจจัยต่างๆเพื่อเพิ่มธุรกิจให้เติบโต การบริหารในองค์กรจึงเป็นเรื่องสำคัญ และควรเน้นการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เช่น การมีสถานที่ตั้งที่เหมาะสมกับการดำเนินงาน, โครงสร้างผู้บริหารและผู้บริหารและผู้รับผิดชอบต่อการดำเนินการต่างๆ
  • แผนการดำเนินงาน (Operations Plan) แผนสำหรับการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับการสร้างประสิทธิภาพจนเกิดผลลัพธ์อันน่าพึงพอใจ เช่น มีการวางระบบของแต่ละฝ่ายงาน วางหน้าที่ชัดเจน, กระจายระบบการทำงาน, แบ่งกะเวลาเพื่อให้การผลิตเพียงพอต่อความต้องการ, การสร้างมาตรฐานในการทำงานอย่างชัดเจน, มีกฎระเบียบให้พนักงานปฏิบัติตามไปในทิศทางเดียวกัน เป็นต้น
  • แผนการเงิน (Financial Plan) การทำธุรกิจ เงินเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุม และมีวิธีการบริหารจัดการต้นทุนต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจสามารถสร้างกำไรและไม่ขาดทุน ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นออกได้ และต้องมีเอกสารทางบัญชีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรายรับ – รายจ่าย, ภาษี, ต้นทุน, ยอดขาย, กำไร – ขาดทุน, ค่าเสื่อมสินทรัพย์, การมีสินค้าคงคลัง, ค่าใช้จ่ายเสียเปล่า, ลูกหนี้การค้า – เจ้าหนี้การค้า ฯลฯ โดยส่วนใหญ่จึงต้องมีผู้เชี่ยวชาญในด้านบัญชีเข้ามาแนะนำหรือเป็นผู้ร่วมเขียนแผนธุรกิจในด้านนี้ด้วย
  • แผนสำรองหรือแผนธุรกิจฉุกเฉิน แผนสำรองหรือแผนธุรกิจฉุกเฉิน จะช่วยให้คุณสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆที่ไม่อาจคาดคิดได้ และจะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ในทันที และลดโอกาสที่จะเกิดปัญหาใหญ่ นอกเหนือการควบคุมได้ด้วย เช่น วางแผนด้านช่องทางการขายออนไลน์ แต่ยอดขายไม่เป็นตามเป้า จึงต้องเปลี่ยนมาใช้ออฟไลน์แทน, วัตถุดิบต่างประเทศไม่สามารถนำเข้าได้ ต้องเปลี่ยนมาใช้ของในไทย, สินค้าซ้ำกับแบรนด์อื่น ต้องเปลี่ยนวัตถุดิบเพื่อสร้างความแตกต่าง, มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าที่คาดไว้ ต้องลดบางส่วนลงเพื่อให้ได้กำไรตามเป้าหมาย, หุ้นส่วนบางคนไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน เป็นต้น

ตัวอย่างแผนธุรกิจ แบบดั้งเดิม จากนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

แผนธุรกิจสำหรับ Start-Up แผนธุรกิจฉบับ Lean start-up Platform

แน่นอนว่าแผนธุรกิจแบบดั้งเดิม สามารถช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้ และครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด แต่แทนที่จะวางแผนอย่างละเอียดถี่ถ้วน เราสามาถวางแผนธุรกิจให้กระชับขึ้นได้ และสามารถลดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็นออกได้ ซึ่งเหมาะกับ Start-Up ที่ต้องการเริ่มต้นการทำธุรกิจของคุณได้อย่างรวดเร็ว และยังทดลองใช้ และปรับไปเรื่อยๆได้ตลอดเวลา ซึ่งองค์ประกอบประกอบไปด้วย

business planning and control system คือ

  • พันธมิตรที่สำคัญ (Key partnerships) สังเกตธุรกิจหรือบริการอื่นๆที่ธุรกิจจะร่วมงานด้วย เช่น ซัพพลายเออร์ ผู้ผลิต หรือพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่พร้อมจะขับเคลื่อนธุรกิจไปพร้อมกัน
  • กิจกรรมหลัก (Key activities) ระบุวิธีที่ธุรกิจจะสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน เน้นสิ่งต่างๆ เช่น การขายตรงไปยังผู้บริโภค การใช้เทคโนโลยี หรือแม้แต่การเลือกช่องทางการขายออนไลน์ ออฟไลน์ เพื่อสร้างประโยชน์และมุ่งเป้าหมายไปที่จุดใดจุดหนึ่ง
  • แหล่งข้อมูลที่สำคัญ (Key resources) ระบุทรัพยากรที่สำคัญของคุณเพื่อสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าของคุณ และทรัพย์สินที่สำคัญ รวมไปถึงพนักงาน ทุน หรือทรัพย์สินทางปัญญา
  • คุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้า (Value proposition) สร้างความชัดเจน และน่าสนใจเกี่ยวกับคุณค่าเฉพาะสินค้าที่บริษัทที่นำออกสู่ตลาด จะสร้างคุณค่าต่อผู้บริโภคอย่างไร จุดเด่น จุดด้อยของผลิตภัณฑ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน
  • ความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer relationships) การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือความพึงพอใจของลูกค้าหรือผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้า ตั้งแต่การนำเสนอสินค้าหรือบริการ ไปจนถึงการทำให้เกิดการซื้อซ้ำๆ เรียกได้ว่าเป็นกลยุทธ์ที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองทุก Customer Journey ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม CRM (Customer Relationship Management) คืออะไร เริ่มทำอย่างไร
  • การแบ่งกลุ่มเป้าหมาย (Customer segments) กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้าได้ โดยดูจากผู้ที่มีความสนใจ หรือผู้มีพฤติกรรมใกล้เคียงกับการซื้อมากที่สุด ในการแบ่งส่วนตลาดมักจะแบ่งออกเป็นกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายกัน และกำหนดตามคุณสมบัติอย่างน้อยหนึ่งอย่างเพื่อให้ใกล้เคียงกับผู้ที่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้ามากที่สุด ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนการแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) ฉบับจับมือทำ!
  • ช่องทางการจัดจำหน่าย (Channels) ช่องทางในการส่งมอบสินค้าให้ถึงมือลูกค้า หรือที่เรียกว่าช่องทางจัดจำหน่าย (Place) ใน Marketing Mix 4P’s โดยจะต้องวิเคราะห์ตั้งแต่การส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้อย่างไร หรือลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าเมื่อต้องการซื้อได้ง่ายแค่ไหน เพราะการที่สามารถส่งมอบสินค้าได้รวดเร็ว หรือลูกค้าเข้าถึงได้สะดวก จะทำให้สร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน
  • โครงสร้างต้นทุน (Cost structure) วิเคราะห์ว่าธุรกิจมีต้นทุนจากอะไรบ้าง รวมไปถึงต้นทุนหลักของธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปร เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และสร้างกำไรได้มากกว่าเดิม
  • กระแสรายได้ (Revenue streams) วิเคราะห์ช่องทางที่มาของธุรกิจ ว่ามีรายได้มาจากช่องทางได้บ้าง เช่น การขายตรง ค่าสมาชิก ตัวแทน หรือจากการโฆษณา เป็นต้น

ตัวอย่างแผนธุรกิจ Wooden Grain Toy Company

ที่มา sba.gov

บทความแนะนำ

คู่มือ ขายของออนไลน์ มือใหม่

ขายของออนไลน์ 2023 อยากขายของ แต่ไม่รู้จะขายอะไรดี (ฉบับสมบูรณ์)

ขายของออนไลน์

เช็คก่อนขาย 10 เช็คลิส ขายของออนไลน์ ให้ได้กำไรเยอะ

แนวทางการพัฒนาตนเอง

8 แนวทางการพัฒนาตนเอง ปี 2022 ให้ประสบความสำเร็จในชีวิต ทุกด้าน

big data คืออะไร

Big Data คืออะไร ลักษณะข้อมูลเป็นอย่างไร (พร้อมตัวอย่างข้อมูล)

ธุรกิจส่วนตัว ที่น่าสนใจ ลงทุนน้อย

9 ธุรกิจส่วนตัว ที่น่าสนใจ เริ่มต้นธุรกิจในยุคออนไลน์ในปี 2022

business model canvas

Business Model Canvas คืออะไร ใช้อย่างไรให้ได้ผล (พร้อมตัวอย่าง)

Leave a comment cancel reply.

You must be logged in to post a comment.

business planning and control system คือ

  • รองรับทุกอุปกรณ์
  • ฉบับจับมือทำ

CIO Wiki

  • Recent changes
  • Random page
  • Help about MediaWiki
  • What links here
  • Related changes
  • Special pages
  • Printable version
  • Permanent link
  • Page information
  • View source

Business Planning and Control System (BPCS)

  • 1 Definition and Explanation
  • 4 Components
  • 5 Importance

Definition and Explanation

The Business Planning and Control System (BPCS) is an enterprise resource planning (ERP) software package that helps organizations manage their business operations. BPCS was originally developed by System Software Associates (SSA) in the 1980s and was widely used by companies in the manufacturing and distribution industries. The software is designed to integrate various business functions, including manufacturing, finance, inventory management, and sales and distribution, into a single system.

The purpose of BPCS is to help organizations manage their business operations more effectively by providing a centralized system for managing various business functions. BPCS allows organizations to automate many of their business processes, including accounting, production planning, and inventory management, which can help increase efficiency and reduce costs.

The role of BPCS is to help organizations manage their business operations by providing a centralized system for managing various business functions. BPCS integrates various business functions, including manufacturing, finance, inventory management, and sales and distribution, into a single system, providing organizations with greater visibility into their operations.

The components of BPCS include:

  • Manufacturing - BPCS includes functionality for managing various aspects of the manufacturing process, including production planning, shop floor control, and quality control.
  • Finance - BPCS includes functionality for managing accounting and financial operations, including accounts payable, accounts receivable, and general ledger.
  • Inventory management - BPCS includes functionality for managing inventory levels and tracking inventory movements.
  • Sales and distribution - BPCS includes functionality for managing the sales process, including order entry, order fulfillment, and shipping.

BPCS is important because it helps organizations manage their business operations more effectively by providing a centralized system for managing various business functions. BPCS can help organizations increase efficiency, reduce costs, and improve decision-making by providing greater visibility into their operations.

BPCS was originally developed by System Software Associates (SSA) in the 1980s and was widely used by companies in the manufacturing and distribution industries. The software was later acquired by several other companies, including Infor, which still offers a version of BPCS as part of its ERP software suite.

The benefits of BPCS include:

  • Centralized system for managing various business functions
  • Automation of many business processes, including accounting, production planning, and inventory management
  • Greater visibility into business operations
  • Increased efficiency and reduced costs

Pros and Cons

  • Can help organizations increase efficiency and reduce costs
  • Provides a centralized system for managing various business functions
  • Can improve decision-making by providing greater visibility into business operations
  • Can automate many business processes, reducing the need for manual intervention
  • Can be expensive to implement and maintain
  • May require significant changes to existing business processes
  • Can be complex and difficult to customize to specific business needs
  • May require significant training for users
  • Enterprise Resource Planning (ERP)
  • Manufacturing Resource Planning (MRP II)
  • Supply Chain Management (SCM)
  • Business Process Management (BPM)
  • Material Requirements Planning (MRP)
  • Integrated Business Systems

SE Thailand

SE Thailand

มาร่วมกันสร้างสังคมให้ดีขึ้นกับธุรกิจเพื่อสังคม Social Enterprise: SE

คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan: BCP)

BCP Guide

บริษัทของคุณพร้อมรับมือกับภัยพิบัติหรือไม่?

หากไร้ซึ่งการเตรียมการรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆแล้วก็เท่ากับว่าคุณกำลังเตรียมพร้อมรับความล้มเหลวเมื่อบริษัทเผชิญกับภัยพิบัติ แผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan – BCP) ที่มีประสิทธิภาพเป็นวิธีการปกป้องธุรกิจของคุณท่ามกลางวิกฤติ

โดยคู่มือเล่มนี้แนะนำวิธีการสร้าง BCP ในบริษัทของคุณ โดยมีขั้นตอนง่ายๆ 10 ขั้นตอน ซึ่งยึดหลัก ISO22301 มาตรฐานระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ

กิตติกรรมประกาศ

เอกสารคู่มือการจัดทำแผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (APEC Guidebook on SME Business Continuity Planning, M SCE 02 11A) มีต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยโดยศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) ในเดือนพฤษภาคม 2014 และได้รับอนุญาตจากสำนักเลขาธิการเอเปคในการจัดพิมพ์เผยแพร่ เอเปคจะไม่รับผิดชอบไม่ว่าในกรณีใดๆหากเกิดความผิดพลาดในเอกสารฉบับแปล ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) ในฐานะผู้แปลและเผยแพร่เอกสารเป็นผู้รับผิดชอบความถูกต้องในการแปลแต่เพียงผู้เดียวในกรณีที่เกิดข้อถกเถียง เอเปคจะถือเอาตัวบทภาษาอังกฤษเป็นข้อชี้ขาดและเป็นฉบับที่ถูกต้องที่สุด

ดาวน์โหลดเอกสารคู่มือได้ที่นี่

ขอบคุณที่มา: APEC and MSMEs

business planning and control system คือ

TODAY FOUNDER

The Connection Between Planning and Controlling: A Step-by-Step Guide Unveiled

Have you ever wondered why some businesses excel while others lag behind? The secret is often rooted in their management practices. Two vital managerial functions that dictate the success of any organization are planning and controlling. By comprehending their interdependence and effectively applying them, businesses can achieve their objectives and maintain a competitive edge. In this comprehensive guide, we’ll explore the profound connection between planning and controlling, and how their strategic application can be a game-changer for your business.

www.geeksforgeeks.org

business planning and control system คือ

Table of Contents

Introduction

Understanding the relationship between planning and controlling is akin to understanding the heart and soul of an organization. While planning lays the foundation for what needs to be accomplished, controlling ensures that these objectives are met by keeping track of performance and implementing necessary adjustments. With planning as the thinking process and controlling as an executive function, they act as the two wheels of the same cart, steering the business towards its goals.

Breaking down the concepts: Planning and Controlling

At its core, planning is about setting the course for the future. It involves deciding on goals, determining the best way to achieve them, and creating a detailed action plan. Controlling, on the other hand, is about monitoring performance against these plans. It involves comparing actual output with the planned objectives, identifying deviations, and taking corrective actions when necessary.

Why understanding this connection is important

Recognizing the interplay between planning and controlling is key to successful management. As stated by M.C. Niles, “Control is an aspect and projection of planning, whereas planning sets the course, control observes deviations from the course, and initiates action to return to the chosen course or to an appropriately changed one.” This interconnectedness forms the crux of effective management, making it crucial for businesses to understand and leverage.

The Concept of Planning

Planning, as described by Koontz and O’Donnell, is all about deciding in advance what to do, how to do it, when to do it, and who is to do it. They assert that planning bridges the gap from where we are to where we want to go, making it possible for things to occur which would not otherwise happen.

What is planning?

Planning is a systematic process where the organization sets its long-term and short-term objectives. It’s a blueprint for action that guides the organization from where it currently stands to where it wants to be in the future. It involves forecasting trends, laying down objectives, analyzing different courses of action, and choosing the best alternative to accomplish the pre-determined goals.

Importance of planning in business

Planning serves as the guiding force in an organization, providing direction and reducing uncertainty. It promotes innovative ideas and a better use of resources by focusing on the organizational goals. By anticipating changes in the business environment, planning helps organizations adapt and thrive. Moreover, it fosters alignment within the organization, ensuring all teams work towards the same objectives.

Steps involved in effective planning

Effective planning typically involves a series of steps: establishing objectives, developing premises about the future, deciding on the course of action, formulating derivative plans, and finally, quantifying the plans into budgets and targets.

The Concept of Controlling

Once plans are set in motion, controlling comes into play. According to Koontz and O’ Donnell, managerial control implies the measurement of accomplishment against the standard and the correction of deviations to assure attainment of objectives according to plans.

What is controlling?

Controlling is the process of comparing the actual performance with the planned goals. It identifies any deviations and takes corrective measures to align the performance with the objectives. It’s a cyclical process that begins with setting performance standards, measuring actual performance, comparing this with the standard, finding deviations if any, and taking corrective action.

Importance of controlling in business

Controlling acts as a safety measure for the organization. It helps detect errors and rectify them before they become significant problems. Through regular comparison of actual performance with standards, controlling keeps the organization on track towards its goals. It also provides valuable information for future planning, making it an indispensable part of the management process.

Steps involved in effective controlling

An effective controlling process involves setting up standards based on objectives, measuring and recording actual performance, comparing these results with standards, and taking corrective action whenever necessary.

Unveiling the Connection Between Planning and Controlling

The symbiotic relationship between planning and controlling plays out in several ways in the business world. Let’s delve deeper into this connection.

How planning feeds into controlling

Planning sets the stage for controlling by defining the standards against which performance will be compared. Without clear, measurable objectives laid out during the planning phase, controlling would have no benchmark to evaluate against. Thus, planning feeds directly into controlling.

The interdependence of planning and controlling

While planning precedes controlling in the management process, the latter feeds back into planning. The information collected during the control process informs future planning. It highlights areas that need improvement and provides insights into how plans can be adjusted to better meet objectives. Hence, planning and controlling are interdependent, reinforcing each other in a continuous cycle.

Real-life examples to illustrate the connection

Consider a manufacturing company that has planned to produce 1000 units of a product in a month. The controlling function monitors the production process throughout the month, comparing actual output with the planned target. If deviations are spotted – say, only 900 units are being produced – corrective action is taken to ramp up production. Once the month ends, the data from the controlling process informs the planning for the next month, perhaps leading to more realistic targets or improved efficiency measures to meet the goal.

How to Apply the Planning-Controlling Connection in Your Business

Now that we’ve explored the deep-seated connection between planning and controlling let’s look at how you can apply these principles in your organization.

Step 1: Developing a strong plan

A robust plan lays a solid foundation for effective controlling. Start with setting clear, measurable objectives. Develop strategies to achieve these goals and break them down into actionable plans. Keep in mind that your plan should be flexible enough to adapt to changing circumstances.

Step2: Implementing controls within the plan

Once your plan is in place, establish controls to monitor performance. Define key performance indicators (KPIs) that align with your objectives and set up a system to regularly measure and record these KPIs. This step prepares you to swiftly identify deviations and take corrective actions.

Step 3: Regularly reviewing and adjusting the plan based on controls

Controlling is an ongoing process. Regularly review your performance against the set standards. If you’re falling short of your goals, analyze the reasons and adjust your plans accordingly. Remember, the goal of controlling isn’t to penalize for deviations but to learn from them and improve future performance.

The planning-controlling connection forms the backbone of effective management. By understanding and leveraging this relationship, businesses can navigate towards their goals with precision and agility.

Recap of the connection between planning and controlling

In essence, planning sets the course by defining objectives and laying out a roadmap to achieve them. Controlling ensures that the organization stays on this course by monitoring performance, identifying deviations, and implementing necessary adjustments. The information gathered through controlling then feeds back into future planning, creating a continuous cycle of improvement.

Final thoughts and encouragement for implementing these steps.

If you haven’t been intentionally harnessing the power of planning and controlling in your organization, it’s time to start. Begin with setting clear goals, develop detailed plans to reach them, establish controls to check performance, and continuously adjust your plans based on these checks. It might seem challenging at first, but remember, every step taken towards effective planning and controlling is a step towards business success.

Related Posts:

  • The Relationship Between Planning and Controlling:…
  • What is Control in Leadership? - Facts You Should Know
  • Is Planning the Father of Controlling?
  • What is Controlling and Monitoring in Project Management?
  • What is the Importance of Control in Effective…
  • What is Control in Business? - Beginner's Guide
  • How Controlling is Related to Managers?
  • How is Controlling Used in Management? - What you…
  • What is the Important Part of Control? - Success Guide
  • What is Control in Planning? - Guide to Success
  • Is planning a requirement for control?
  • Understanding the Factors that Make a Control Effective
  • Strategic Control: Definition, Types, and Examples
  • What are Controlling Skills? : What You Need to Know
  • What is Risk Control With Example?

business planning and control system คือ

business planning and control system คือ

  • ERP Crafter

ระบบ ERP คืออะไร? สรุปครบ จบในที่เดียว! [รู้ยันค่าใช้จ่าย]

mins read   |  1stCraft Team

องค์กรที่ใหญ่ขึ้น มาพร้อมกับการจัดการที่ลำบากมากขึ้น หากเป็นสมัยก่อนเรื่องราวเหล่านี้คงเป็นที่น่าปวดหัวตั้งแต่ฝ่ายบุคคลไปจนถึงฝ่ายบริหาร เพราะไม่สามารถจัดการทุกอย่างให้เป็นไปตามครรลองที่ควรเป็นได้ ระบบ Enterprise Resource Planning หรือเรียกสั้นๆ ว่า ERP จึงถือกำเนิดขึ้น

ทำความรู้จักกับระบบ Enterprise Resource Planning (ERP)

ทำความรู้จักกับระบบ erp ทั้ง 2 ประเภท, ใช้ erp หรือ crm ดีกว่ากัน, บริษัทโตได้ ด้วย erp คุณภาพ, บริษัทไหนที่เหมาะกับระบบ erp , ค่าใช้จ่ายของระบบ erp ประมาณเท่าไหร่.

หากจะอธิบายง่ายที่สุด ระบบ ERP คือซอฟท์แวร์สำหรับการวางแผนการจัดการ โดยจะมีการรวมข้อมูลทุกอย่างบันทึกไว้ใน Database หลัก ทำให้ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายอื่นๆ ที่ต้อง การใช้ข้อมูล สามารถดึงข้อมูลที่ต้องการออกมาได้ทันที และทำให้องค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบ ERP ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาในส่วนใด?

ในองค์กรส่วนมากนั้นประกอบไปด้วยหลากหลายหน่วยงาน เช่น ฝ่ายบริหารจัดการบุคคล (HR) ฝ่ายบัญชี (Accounting) ฝ่ายบริหารคลังสินค้า (Inventory Management) และฝ่ายอื่นๆ อีกมากมาย

แต่ปัญหาที่พบเจอคืออะไร?

ในแต่ละหน่วยงานนั้นมีการใช้โปรแกรมหรือระบบบริหารที่แตกต่างกัน เช่น

  • ฝ่ายบัญชีใช้โปรแกรม A
  • ฝ่ายบริหารจัดการบุคคลใช้โปรแกรม B
  • ฝ่ายบริหารคลังสินค้าใช้โปรแกรม C

การใช้โปรแกรมที่แตกต่างกันในแต่ละหน่วยงานนั้นย่อมส่งผลเสียในเชิงของการบริหารงาน การดูภาพรวมการทำงาน และอีกหนึ่งผลเสียที่เห็นได้ชัดเจนคือ ขาดความเชื่อมโยงของข้อมูลภายในองค์กร

แก้ไขปัญหาด้วยระบบ Enterprise Resource Planning

ระบบ ERP จึงเป็นระบบที่สามารถ แก้ไขปัญหา ดังกล่าวและทำให้ทุกหน่วยงานสามารถทำงานร่วมกันผ่านระบบ ERP ระบบเดียวได้

โดยภายในระบบ ERP จะประกอบด้วยระบบยิบย่อยมากมาย

ระบบ ERP ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ระบบ ERP ประกอบไปด้วย

1. ระบบการจัดการการเงิน .

สำหรับเชื่อมต่อฐานข้อมูลเข้ากับระบบอื่นๆ และรับข้อมูลการสั่งซื้อ จัดซื้อจัดจ้าง ไม่ว่าจะเป็นจากฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายขาย (Sales) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป หรือฝ่ายอื่นๆ และทำการคำนวณรวบยอด ไปจนถึงพัฒนาเป็นกราฟ และการแสดงผลอื่นๆ ให้เข้าใจง่าย 

2. ระบบทรัพยากรบุคคล 

ช่วยในการเลือกพนักงานเข้า ประเมินผลพนักงาน กำหนดแผน Training พนักงานแต่ละส่วน ขาดลา มาสาย การกำหนด Expense Claim หรือการเบิกเงินค่าเดินทาง และค่าอื่นๆ ก็สามารถทำได้ทั้งหมด

นอกจากเพื่อเพิ่มศักยภาพพนักงานให้สูงยิ่งขึ้น ยังสามารถใช้กำหนดงบประมาณโดยรวมของทรัพยากรบุคคล เพื่อง่ายต่อการจัดการงบประมาณในอนาคตอีกด้วย

3. ระบบจัดซื้อจัดจ้าง 

ทำให้สามารถทำใบแจ้งหนี้ ใบเสนอราคา ไปจนถึงติดตามลูกค้าและบันทึกข้อมูลวัตถุดิบ และสินค้าได้ง่ายขึ้น และมีการส่งข้อมูลไปให้ระบบการเงินโดยอัตโนมัติ ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน

4. ระบบการจัดการข้อมูล 

ที่คอยรวบรวมข้อมูลด้านต่างๆ มาสรุปและนำเสนอในรูปแบบเข้าใจง่าย ให้ทุกฝ่ายสามารถดูรายละเอียดได้ ไปจนถึงวิเคราะห์ข้อมูลยิบย่อยในบริษัท ไม่ว่าจะเป็นพวกข้อมูล ระบบการจัดการวัตถุดิบ ข้อมูลสต็อก ข้อมูลค่าเสื่อม และอื่นๆ อีกมากมาย โดยระบบ ERP นั้นสามารถสร้างรีพอร์ตผลลัพธ์ออกมาให้ดูภาพรวมแบ่งเป็นกราฟได้โดยง่ายอีกด้วย

5. ระบบสำหรับผู้บริหาร 

นอกจากจะควบคุมข้อมูลของแต่ละฝ่ายได้แล้ว ทางฝั่งผู้บริหารยังสามารถดึงข้อมูลจากส่วนอื่นๆ เพื่อมาตรวจสอบความถูกต้องและทำเป็นกราฟแสดงผลข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพให้เห็นภาพรวมการทำงานของธุรกิจ

รวมถึงจัดงบประมาณและจัดสรรค่าใช้จ่ายได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อวางกลยุทธ์ในปีต่อไปได้อีกด้วย

6. ระบบอื่นๆ

ระบบที่สามารถพัฒนาหรือสร้างได้ตามความต้องการของธุรกิจ

ตัวอย่างด้านบนเป็นเพียงส่วนน้อยของระบบ ERP แน่นอนว่ายัง ส่วนประกอบของระบบ ERP อีกมากที่ไม่ได้กล่าวถึง เช่น ระบบบริหารคลังสินค้า ฯลฯ เนื่องจาก ERP ของทางเรา 1stCraft นั้นจะสามารถ Customize ได้ตามความต้องการของบริษัท เพื่อความยืดหยุ่นและตอบสนองต่อสิ่งที่ตัวผู้ประกอบการต้องการมากที่สุด 

สำหรับท่านใดที่สนใจ แต่ยังไม่แน่ใจว่ามีระบบที่ตอบโจทย์ธุรกิจของคุณหรือไม่ ปรึกษาเราฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายครับ

ระบบ ERP หลักๆ แล้วจะมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบดังนี้

รูปแบบที่ 1: ERP ในรูปแบบระบบ Cloud

บางท่านอาจจะยังสงสัยว่า ERP ระบบ Cloud คืออะไร? อธิบายได้สั้นๆ ง่ายๆ คือ ระบบ ERP จะถูกติดตั้งไว้บนเซิฟเวอร์ (Cloud Server) เพื่อให้ท่านเข้าใช้งานง่ายๆ ได้ผ่านมือถือหรืออินเทอร์เน็ต 4G ก็เข้าได้ โดยจุดเด่นของระบบ ERP ประเภทนี้ คือ การใช้งานที่ค่อนข้างสะดวก Access ได้ทุกที่ผ่านแอปพลิเคชั่น

รูปแบบที่ 2: ERP ในรูปแบบ On-Premise

กล่าวคือแทนที่จะเป็นระบบที่ถูกติดตั้งไว้บนเซิฟเวอร์ ระบบ ERP นี้จะถูกติดตั้งไว้บน Hardware หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ที่องค์กรใช้งานอยู่แล้ว เพื่อเสริมความปลอดภัยขึ้นไปอีกหนึ่งระดับนั่นเอง แต่แน่นอนว่าย่อมแลกมาด้วยข้อเสียบางประการเช่นเดียวกัน 

แล้วองค์กรของท่านควรใช้งานในรูปแบบไหน? ในคำถามนี้เราต้องประเมินกันในหลายรูปแบบตามความต้องการของแต่ละองค์กรที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นจะเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญอย่างเราที่จะแนะนำท่านว่า ระบบ ERP ในรูปแบบใด เหมาะกับองค์กรของท่านมากที่สุด เพราะเหตุใด

มาถึงตรงนี้ทุกท่านน่าจะพอเข้าใจระบบ ERP กันคร่าวๆ แล้วนะครับ เดี๋ยวเรามาตอบคำถามที่ถามกันเข้ามาเยอะว่าองค์กรควรใช้ระบบ ERP หรือ CRM กันแน่ อันไหนมันดีกว่ากัน?

เพราะองค์กรส่วนใหญ่ยังคงสับสนว่าสรุปแล้ว ความแตกต่างของระบบ ERP และ CRM คืออะไร? แล้วควรจะใช้โปรแกรมไหนถึงจะตอบโจทย์องค์กรได้ดีที่สุด ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจเจ้า 2 ระบบนี้อย่างถูกต้องกัน

ERP และ CRM โฟกัสกันคนละแบบ

ระบบ erp โฟกัสที่ภาพรวมและระบบการจัดการของบริษัท.

ส่วนประกอบต่างๆ ในระบบ ERP เราจะเห็นได้ชัดว่าเป็นเครื่องมือที่เน้นพุ่งเป้าไปในการจัดการ ‘ภายในองค์กร’ เช่น ระบบ HR ระบบบัญชี ระบบบริหารคลังสินค้า และระบบอื่นๆ ช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบผ่าน Platform เดียว 

ดังนั้นระบบ ERP จะถูกใช้เพื่อวัดผลและจัดการภายในองค์กร

ระบบ CRM โฟกัสที่กลุ่มเป้าหมายใช้สำหรับทีมการตลาดและทีม Sales

ระบบ CRM เป็นการเก็บบันทึกข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายว่าลูกค้า ‘อยู่ในขั้นตอนการซื้อขายใด’ มีการพูดคุยกันไว้อย่างไรบ้าง

ยกตัวอย่างเช่น

ทีม Sales สามารถบันทึกไว้ในระบบเป็นรายบุคคลได้ว่า ลูกค้า A เราโทรหาเค้าแล้ว คุยกันไว้ว่าอย่างไร เราต้องโทรติดตามอีกครั้งเมื่อไหร่

พอเห็นภาพนะครับ ระบบ CRM จะจะถูกใช้บริหารจัดการระหว่างองค์กร (ทีมการตลาดหรือทีม Sales) กับ ‘กลุ่มลูกค้า’

ดังที่กล่าวมาระบบ ERP และ CRM จึงแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทำงานคนละแบบกัน หากคุณต้องการให้องค์กรทำงานกันอย่างเป็นระบบมากขึ้นใช้ ERP แต่หากอยากให้บริหารจัดการลูกค้าได้ดีขึ้นคุณควรใช้ CRM ครับ

จะเห็นได้จากระบบการจัดการของ ERP นะครับว่าภายในมีความหลากหลายและยืดหยุ่นสูง นั่นส่งผลให้ ประโยชน์ของระบบ ERP นั้นมีมากขึ้นตามไปด้วย ดังนี้

ประโยชน์ในภาพรวมของ ERP

1. ผู้ประกอบการเห็นภาพรวมของธุรกิจชัดเจนขึ้น.

เนื่องจากระบบจะทำการเชื่อมต่อการเงินและการจัดการ “ทั้งหมด” ในธุรกิจ และทำการวิเคราะห์ นำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจนโยบายบริหาร ลดความผิดพลาดในการตัดสินใจบางจุด เพิ่มโอกาสความสำเร็จให้มากขึ้น

2. ทำงานได้จากทุกที่แม้จะอยู่ห่างไกล

ทุกวันนี้ทุกอย่างล้วนเชื่อมต่อด้วยอินเทอร์เน็ต และ ERP เองก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น เราสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ในบริษัท รวมถึงพูดคุยกับลูกค้า บริหารจัดการได้แบบเรียลไทม์แม้ว่าจะอยู่คนละซีกโลกก็ตาม

3. พนักงานทุกคนมีความเท่าเทียมทางข้อมูล

เพราะ ERP เน้นความบริสุทธิ์และโปร่งใส พนักงานในแต่ละฝ่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลได้ นอกจากเสริมความเท่าเทียมแล้วยังลดโอกาสการทุจริตในองค์กรอีกด้วย (เราสามารถกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลของแต่ละตำแหน่งได้)

4. มีความปลอดภัยสูง

ข้อมูลทุกอย่างจะถูกเก็บรวมไว้ใน Database และจะมีการบันทึกข้อมูลการเปลี่ยนแปลง สามารถตรวจสอบ เรียกซ้ำข้อมูลในส่วนที่จำเป็นได้ ปลอดภัยกว่าการเก็บเพียงแค่เอกสารหรือไฟล์ธรรมดา

5. ลดการทำงานซ้ำซ้อน หรือการทำงานที่ไม่จำเป็น

ERP จะทำการขึ้นข้อมูลมาทันทีที่มีการจัดการหรือเปลี่ยนแปลงตัวเลข ไม่ว่าจะเป็นบัญชีการเงิน ซื้อขาย หรือบัญชีการจัดการสำหรับลูกค้า ดังนั้นฝ่ายบัญชีไม่จำเป็นต้องให้ฝ่ายอื่นกรอกข้อมูลซ้ำให้เสียเวลา สามารถตรวจสอบและออกบิลได้เลย

เมื่อลดความซ้ำซ้อนในงานเอกสาร พนักงานส่วนใหญ่ก็สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่มากขึ้น ไม่ต้องทำงานบัญชีหรืองานตัวเลขอื่นๆ เสริมประสิทธิภาพงานให้ดีขึ้น ส่งผลให้การทำงานมีคุณภาพมากขึ้นไปอีก

6. เข้าใจและใช้งานข้อมูลได้ง่าย

เพราะ ERP เป็นโปรแกรมที่เน้นให้ทุกคนสามารถใช้งานได้ เข้าถึงได้ ดังนั้นจึงมีการออกแบบที่เอื้อกับผู้ใช้ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นได้ เมื่อทุกคนเข้าใจงานและเข้าถึงข้อมูลพร้อมกัน การทำงานเพื่อส่งเสริมให้บริษัทเติบโตก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ด้วยความยืดหยุ่นที่สูง และการจัดการที่หลากหลาย ERP สามารถประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจเกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเล็กหรือใหญ่ แต่ก็ยังมีข้อแม้เล็กน้อยในการใช้งานเพื่อทำให้ ERP เกิดประโยชน์สูงสุด

  • ผู้บริหารเข้าใจการจัดการและความสำคัญของระบบ ERP ไม่ปล่อยปละละเลยให้เกิดการทำงานนอกระบบ 
  • บริษัทมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลง มีความพร้อมในการทำความเข้าใจระบบใหม่ๆ และตอบสนองต่อการใช้งาน ERP เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของบริษัท 
  • ใช้ทรัพยากรข้อมูลต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ ERP จะไม่สามารถแสดงศักยภาพได้หากผู้ใช้ไม่เชื่อมั่นใน การวิเคราะห์ข้อมูล หรือไม่สามารถนำข้อมูลที่ ERP เก็บไว้มาทำให้เกิดประโยชน์ได้มากเพียงพอ

เจาะจงบริษัทและโรงงานที่โปรแกรม 1stCraft ERP ตอบโจทย์การใช้งาน

1stCraft เราดูแลโรงงานมากมายในหลากหลายอุตสาหกรรมโดยส่วนมากแล้วทุกโรงงานและทุกบริษัทที่เราได้พูดคุยจะพบเจอปัญหาหลักๆ คล้ายกัน

ปัญหาที่โรงงานส่วนมากพบเจอ

  • ยังใช้ Excel ผูกสูตรในการบริหารคลังสินค้าอยู่ ทำให้การบริหารคลังสินค้าทำได้ยาก และมี Human Errors เกิดขึ้นบ่อย
  • มีสินค้าที่เฉพาะเจาะจงมาก ระบบเก่าไม่ตอบโจทย์ในการลงข้อมูลสินค้า
  • มีขั้นตอนการทำงานภายในที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการผลิต การซื้อมาขายไป และอื่นๆ
  • แต่ละฝ่ายใช้ระบบแยกกัน ทำให้ผู้บริหารไม่เห็นภาพรวมของข้อมูล
  • ระบบเก่าใช้งานยาก ผู้ใช้งานไม่ชอบหน้าตาของโปรแกรมและไม่ยอมใช้งาน
  • เชื่อมต่อกับ Third-Party ไม่ได้

ประเภทโรงงานที่ 1stCraft ERP ตอบโจทย์

1stCraft ERP ตอบโจทย์โรงงานในทุกกลุ่มทุกประเภทได้อย่างครบถ้วน โดยเราสามารถปรับแต่งระบบหรือสร้างระบบขึ้นมาใหม่เพื่อให้ตอบโจทย์แบบเฉพาะเจาะจงกับการทำงานของโรงงานคุณ เราก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน โดยโรงงานส่วนมากที่ทางเราตอบโจทย์ จะมีดังนี้

  • โรงงานอุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing)
  • โรงงานอุตสาหกรรมซื้อมา-ขายไป (Trading & Distribution)
  • โรงงานอุตสาหกรรมทั้งผลิตเองและซื้อมาขายไปด้วย (Manufacturing + Trading)
  • กลุ่มบริษัทรับเหมาก่อสร้าง
  • บริษัทหรือโรงงานที่มีการบริการแบบ Custom-made (Made-by-order)
  • โรงงานการเกษตรและอุตสาหกรรมอื่นๆ

หากคุณเป็นบริษัทหรือโรงงานที่มีการทำงานนอกเหนือจากโรงงาน 6 ประเภทด้านบน สามารถติดต่อสอบถามเราได้ก่อนนะครับ เพื่อตรวจสอบว่าโปรแกรมของเราสามารถตอบโจทย์การทำงานของคุณได้อย่างครบถ้วนหรือไม่ ติดต่อสอบถามได้ที่ >> https://1stcraft.com/talk-to-us

มาถึงโค้งสุดท้ายของบทความเชื่อว่าทุกท่านคงมีคำถามในใจกันแล้วว่า ค่าใช้จ่ายในการทำ ERP มันประมาณเท่าไหร่กันแน่? 

ก่อนที่เราจะทราบเรื่องค่าใช้จ่ายนั้นเราอาจจะต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ทำไมระบบ ERP ถึงมีตั้งแต่ราคาหลักพันจนถึงหลักแสน หลักล้าน หลักสิบล้าน ทำไมราคามันถึงแตกต่างกันไกลโขขนาดนั้น?

ERP หลักพัน VS หลักล้าน แตกต่างกันยังไง?

ระบบ erp หลักพัน.

ส่วนมากแล้ว ERP หลักพันบาท คือ ระบบ ERP ที่เปิดการใช้งานให้ทุกท่านเข้าไปใช้งาน ดังนั้นคุณมีหน้าที่เข้าไปใช้งานเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากระบบไม่ตอบโจทย์การทำงาน ก็เป็นสิ่งที่ยากที่ทางลูกค้าจะทำอะไรได้ อันนี้ต้องเรียนให้ทราบตามตรง เพราะหลักการของระบบ ERP หลักพันบาท 

“เค้าเปิดระบบ ลูกค้ามีหน้าที่เข้าไปใช้งาน”

แต่ก็ไม่ใช่ว่าระบบ ERP หลักพันบาทจะมีแต่ข้อเสีย

แน่นอนว่าข้อดีข้อแรกที่คุณเห็นได้ชัดๆ เลย คือในเรื่องของราคา

ในขอบเขตราคาของระบบ ERP หลักพันจะเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก ผู้ประกอบการพึ่งเริ่มต้นธุรกิจและต้องการรักษา Cash Flow หรือสภาพคล่องทางการเงินให้มากที่สุด การลงทุนหลักพันต่อเดือนถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ไม่เลวเลย

ระบบ ERP หลักแสน หรือหลักล้าน

เริ่มต้นความแตกต่างของ ERP หลักแสน หรือหลักล้าน คือ ปฏิบัติการติดตั้งระบบ (Implementation) สำหรับระบบ ERP หลักล้านนั้นเริ่มต้นด้วยการเก็บ Requirement ก่อน ว่าธุรกิจของคุณกำลังต้องการะบบ ERP ในรูปแบบไหน มีขั้นตอนการทำงานภายในอย่างไรบ้าง 

เพื่อทางทีม 1stCraft เราจะทำการปรับแต่งระบบให้เข้ากับการทำงานขององค์กรมากที่สุด รวมถึงมีการ Training ในแต่ละหน่วยงานให้มั่นใจได้ว่า ทุกหน่วยงานในองค์กรคุณสามารถใช้งานระบบนี้ได้แบบ 100% ไม่ติดปัญหา

มากไปกว่านั้นคือ ทางทีม 1stCraft เราปรับแต่งหน้าเอกสารทุกฉบับให้เป็นหน้าตาและรูปแบบเหมือนกับที่องค์กรคุณกำลังใช้งานอยู่เลยอีกด้วย

ระบบ ERP หลักแสนหรือหลักล้าน เหมาะกับใคร?

ระบบ ERP ในช่วงราคานี้จะเหมาะกับธุรกิจขนาดกลาง ที่ต้องการระบบใดสักระบบหนึ่ง เพื่อช่วยให้

  • การทำงานภายในองค์กรหรือโรงงานนั้นราบรื่น (Smooth) ขึ้น 
  • จับต้นชนปลายข้อมูลและการทำงานของพนักงานได้ถูกต้อง 
  • มีการเก็บข้อมูลเป็นหลักเป็นแหล่ง พร้อมระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูง 
  • มีรายงานผลข้อมูลให้ผู้ประกอบการสามารถเห็นความเคลื่อนไหวของธุรกิจได้แบบ Real-Time 

ที่สำคัญคือ หากคุณต้องการมั่นใจว่า องค์กรของคุณจะได้รับบริการระบบ ERP ที่ตอบโจทย์องค์กร 100% ลองปรึกษาทีมงาน 1stCraft เราได้เลยครับ เพราะระบบ ERP ของเรา

“เรา Craft ระบบ ERP เราสร้างและปรับแต่งให้เป็นระบบที่ใช้กับองค์กรคุณโดยเฉพาะครับ”

เข้าใจค่าใช้จ่ายของระบบ ERP ทั้ง 2 รูปแบบ

ERP นั้นปกติจะมี 2 แบบ ซึ่ง 2 แบบนี้มีค่าใช้จ่ายที่ต่างกัน

  • ERP แบบจ่ายรายปี (Subscription)
  • ERP แบบจ่ายรอบเดียว (1stCraft)

หากเป็นแบบจ่ายรายปีจะเป็น ERP ในรูปแบบของการคิดค่าใช้จ่ายตามระบบที่ท่านต้องการใช้

ยกตัวอย่างเช่น 

  • ระบบบัญชี จำนวน 1 ระบบราคา $100 ต่อเดือน (เลขสมมติ)
  • ระบบบริหารงานบุคคล จำนวน 1 ระบบราคา $200 ต่อเดือน

นอกเหนือจากจะคิดราคาตามระบบแล้ว ค่าใช้จ่ายจะถูกคิดตามจำนวณผู้ใช้ด้วย หากท่านมีผู้ใช้งาน (พนักงาน) 100 คน ก็จะมีค่าใช้จ่ายต่อคนต่อเดือนเพิ่มเข้ามา 

ในขณะที่ ERP ในรูปแบบจ่ายรอบเดียวจะต่างกัน

เพราะท่านไม่ต้องทำความเข้าใจและนั่งเลือกว่าจะใช้ระบบอะไรบ้าง แต่เรามีทีมงานให้คำปรึกษาโดยพิจารณาจากแผนผังระบบการทำงานขององค์กรเป็นหลัก แถมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่อจำนวนผู้ใช้อีกด้วย

กล่าวคือในอนาคตสมมติว่าท่านมีพนักงานเพิ่มขึ้นอีก 100 คน ค่าใช้จ่ายตรงนี้จะไม่เพิ่มขึ้นเพราะเป็นระบบ ERP ในรูปแบบจ่ายรอบเดียวจบ แถมได้ระบบทั้งระบบเป็น Asset ขององค์กรโดยแท้ กล่าวคือท่านจะเป็นเจ้าของระบบเองเลย ไม่ต้องพึ่งการจ่ายรายปีอีกต่อไป

ทางเรามีบทความให้ท่านได้อ่านทำความเข้าใจเจาะลึกในเรื่องของค่าใช้จ่าย แถมเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของระบบ ERP ทั้ง 2 รูปแบบสามารถเข้าไปอ่านบทความของเราได้เลย >>> ค่าใช้จ่ายระบบ ERP

บริษัทที่ดีไม่ใช่แค่เพียงเป็นบริษัทใหญ่ แต่ต้องเป็นบริษัทที่สามารถปรับตัวและเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้ และแน่นอนว่า ERP เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่ง แต่มันก็เป็นเครื่องมือที่ทรงคุณภาพ ที่จะทำให้คุณสามารถจัดการงานโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมีการจัดการที่ดี บริษัทย่อมเติบโตถูกไหมครับ?

ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทของคุณ “พร้อม” ที่จะเปลี่ยนแปลง เพื่อการก้าวไปสู่จุดที่สูงกว่าเดิมแล้วหรือยัง?

1stCraft บริการระบบ ERP โดยผู้เชี่ยวชาญ ไม่มี Hidden Cost และ ค่าใช้จ่ายต่อ User 

เรายินดีให้คำปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายครับ 🙂

บริการทำระบบ ERP - 1stcraft Digital Solutions

  • ERP     ERP คืออะไร?     ระบบ ERP     ส่วนประกอบ erp

You may also like

Cover บทความ 7 เทคนิคการออกแบบเว็บไซต์ที่ดี ให้ตอบโจทย์ SEO

  • Website Crafter

7 เทคนิคการออกแบบเว็บไซต์ที่ดี ให้ตอบโจทย์ SEO (ควรทำอะไรบ้าง?)

Cover บทความ Site Structure คืออะไร

Site Structure คืออะไร? พร้อมวิธีการวางโครงสร้างที่ดี (ฉบับเข้าใจง่าย)

Cover บทความ Keyword Research คืออะไร

การทำ Keyword Research คืออะไร? พร้อมเผยเทคนิคการทำ [ฉบับเข้าใจง่าย]

Copyright © 2020 1stcraft. All right reserved.

Privacy Policy

Terms & Condition

banner-erp-square

business planning and control system คือ

  • หน้าแรก >
  • Blue update >
  • Knowledge >

ระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรมสำคัญแค่ไหน ทำไมโรงงานต้องใส่ใจ

 alt=

ประสิทธิภาพการผลิต ไม่ได้ขึ้นอยู่กับพลังของเครื่องจักรเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับการควบคุมที่มีคุณภาพด้วย การใช้งาน ระบบควบคุมในอุตสาหกรรม (Industrial Control Systems: ICS) ที่เชื่อถือได้จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้การทำงานในอุตสาหกรรมก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปอีก

โดยเฉพาะในปัจจุบันเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นก็ทำให้ระบบดังกล่าวเปลี่ยนไปอย่างน่าตกใจ ระบบควบคุมดังกล่าวมีการทำงานแบบไหนบ้างและสำคัญขนาดไหน บทความนี้มีคำตอบ

ระบบควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรม ปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการผลิต

“โรงงานไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็จำเป็นที่จะต้องมีระบบควบคุมคอยดูแลการทำงาน”

ประโยคดังกล่าวคงเป็นการอธิบายความสำคัญของระบบควบคุมในอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี และระบบดังกล่าวก็ยิ่งทวีความจำเป็นมากขึ้นไปอีก เมื่อการทำงานในอุตสาหกรรมมีความซับซ้อนมากขึ้น และมีการเชื่อมต่อกับส่วนต่างๆ ของบริษัทและโรงงานมากขึ้น เช่น การผลิตที่ต้องสื่อสารกับฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายขาย เพื่อทำให้ตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างทันท่วงที

เหตุผลนั้นทำให้การพัฒนาเครื่องจักรในการผลิต ต้องมาคู่กับระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพ ใช้งานง่าย คุ้มค่า มีความปลอดภัยสูง ภาพของแผงควบคุมขนาดใหญ่อันแสนยุ่งยากเริ่มหายไป กลายเป็นจอมอนิเตอร์เพื่อตรวจสอบและการป้อนคำสั่งง่ายๆ แทน

ฝ่ายผู้ใช้งานจึงต้องมีการศึกษาการทำงานของระบบควบคุมแบบต่างๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อการวางแผนการผลิตในโรงงานได้อย่างเหมาะสม ติดตั้งระบบที่เข้ากับโรงงานของตัวเอง เพื่อการทำงานที่ดีที่สุด

Industrial-Control-Systems-01

รูปแบบของการควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรม

การควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 17 แน่นอนว่าบางอย่างนั้นหายไปตามกาลเวลา และบางอย่างก็มีการใช้มาอย่างต่อเนื่อง โดยระบบที่เรามักพอได้ในโรงงานต่างๆ นั้นมีดังนี้

1. Programmable Logic Controllers (PLCs)

Programmable Logic Controllers คือ การควบคุมการทำงานของเครื่องจักรโดยมี Microprocessor เป็นตัวประมวลผลและสั่งการ อุปกรณ์ PLC นั้นทำงานคล้ายกับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กโดยมนุษย์เป็นผู้ตั้งค่าโปรแกรมเพื่อใช้งานต่างๆ เช่น Input/Output Contro, Logic, Timing รวมถึงการประมวลผลแบบละเอียด

PLC ในปัจจุบันสามารถทำงานร่วมกับเครื่องจักรได้หลากหลายทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมถึงสามารถเชื่อมต่อกันหลายตัวเพื่อเป็น PLC Network ได้อีกด้วย ส่งผลให้ระบบนี้ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

2. Programmable Automation Controllers (PACs)

Programmable Automation Controllers เป็นระบบควบคุมในโรงงานที่ถูกต่อยอดมาจาก PLC โดยรวมคุณสมบัติต่างๆ ของคอมพิวเตอร์เข้ามาไว้ในการควบคุมมากขึ้น เช่น รองรับการทำงานหลายรูปแบบ สามารถทำงานที่ซับซ้อนมากกว่าเดิมได้ และสามารถรองรับอุปกรณ์ที่หลากหลาย รวมถึงมีความรวดเร็วมากกว่า PLC

PAC นั้นถูกใช้งานในกระบวนการผลิตที่ต้องอาศัยความแม่นยำและความเสถียรสูง เช่น โรงงานไฟฟ้า จากคุณสมบัติอันโดดเด่นของตัวมันเอง

Industrial-Control-Systems-02

3. Distributed Control Systems (DCS)

ระบบ DCS หรือระบบควบคุมแบบกระจาย เป็นระบบสำหรับควบคุมและดูแลเครื่องจักรที่ใช้กันในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยมีใช้งานตัวประมวลผลข้อมูลมากกว่า 1 ตัว แยกไปในแต่ละกระบวนการทำงาน สามารถทำงานได้ทั้งการควบคุมการผลิต ตรวจสอบกระบวนการผลิต และมีการเก็บข้อมูลแยกเพื่อให้สามารถตรวจสอบสิ่งที่เกิดขึ้นในภายหลังได้อีกด้วย

DCS เป็นระบบที่มีราคาค่อนข้างสูง จึงมักพอได้ตามโรงงานใหญ่ จนถึงระบบการทำงานของแท่นขุดเจาะปิโตรเลียม

4. Supervisory control and Data Acquisition (SCADA)

SCADA คือระบบตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ คล้ายกับระบบ DCS เพียงแต่ว่าจะมีการใช้การควบคุมระยะไกลมากกว่า และยังทำงานร่วมกับระบบอื่นๆ เช่น PLC DCS และ RTU ได้อีกด้วย

Industrial-Control-Systems-03

ดังที่กล่าวว่า SCADA สามารถใช้ดูแลระบบโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การควบคุมรูปแบบนี้จึงมักพบได้ใน เช่น อุตสาหกรรมเคมี การประกอบรถยนต์ โรงไฟฟ้า เป็นต้น

5. Intelligent Electronic Devices (IEDs)

IED หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับระบบการผลิตสำหรับตรวจสอบและควบคุมในโรงงาน โดยมีการทำงานคล้ายกับระบบ Circuit Control เพียงแต่ว่าสามารถทำงานได้ละเอียดยิ่งกว่าด้วยอุปกรณ์ Microprocessor

นอกจาก IED สามารถใช้ในการมอนิเตอร์และควบคุมแล้ว ยังสามารถใช้ในการสื่อสารภายในโรงงาน ใช้ร่วมกับระบบอีเทอร์เน็ตและโปรโตคอลของโรงงานอื่นๆ ได้อีกด้วย

รายชื่อด้านบนเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรมเท่านั้น แม้จะสามารถแบ่งแยกออกไปได้หลายชนิด แต่เราก็ยังสามารถเห็นการทำงานร่วมกันของระบบต่างๆ ได้อยู่เสมอๆ ตามแต่การจัดการของโรงงานนั้นๆ หากต้องการติดตั้งระบบหรืออัปเกรดระบบใหม่ ควรติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญของโรงงาน เพื่อความเข้าใจในภาพรวมของระบบที่ถูกต้องครบถ้วนมากขึ้น

ความก้าวหน้าของระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรมปี 2021

2021 อาจเป็นปีที่ระบบทั้งหมดที่เราได้เห็นกันได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง ด้วยการประยุกต์ใช้ Automation เข้าสู่การทำงาน พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงการควบคุมในโรงงานให้เข้าถึงง่ายมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ระบบบางอย่างที่เราเคยทำงานด้วยหายไป

Industrial-Control-Systems-04

แน่นอนว่าเรายังคงต้องใช้การทำงานของ PLC หรือ SCADA ไปอีกพักใหญ่ๆ แต่มันอาจจะถูกผูกเข้ากับระบบที่ใหญ่ยิ่งกว่า ละเอียดยิ่งกว่า เช่นการทำงานเชื่อมต่อกับ Web Services, Email, Mobile การสั่งการด้วยเสียงผ่านอุปกรณ์พิเศษ จนถึงการเชื่อมต่อเข้ากับระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) เพื่อการทำงานที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

สิ่งสำคัญที่สุดของเรื่องนี้คือ มนุษย์เราอาจไม่ใช่แกนหลักของกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอีกต่อไป แต่จะเป็นระบบ AI ที่คอยเข้ามาสั่งการผ่านอุปกรณ์ต่างๆ แทน

ระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรมเปรียบเสมือนสมองของโรงงานที่คอยสั่งการเครื่องจักรต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินงานต่อไปได้ ซึ่งในปัจจุบันมันไม่ใช่การควบคุมที่ยุ่งยากอีกต่อไปแล้ว ระบบต่างๆ ถูกทำให้มีการใช้งานง่ายมากขึ้น มีความเป็นอัตโนมัติมากขึ้น รวมถึงสามารถควบคุมจากที่ไหนก็ได้ และคาดว่าในปี 2021 ก็อาจเป็นอีกปีที่ระบบควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดได้อีกแน่นอนด้วยการประยุกต์ใช้ AI และ Automation ที่ดียิ่งขึ้น

ถ้าคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับระบบควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรมหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความนี้ คุณสามารถสอบถามได้ ที่นี่ ด้วยบริการให้คำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เครื่องมือ และเครื่องจักรกลคุณภาพสูง พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

บริการด้านออโตเมชันจากสุมิพล

สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับระบบ Automation การวางแผนระบบควบคุมการผลิตและการใช้งานเครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง ด้วยบุคลากรคุณภาพ อุปกรณ์อัตโนมัติที่ทันสมัยและโปรแกรมในการออกแบบเพื่อการทำงานเสมือนจริงมากที่สุด

ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

ebook-automation

Related Content

business planning and control system คือ

BSI

Making excellence a habit

Buy standards

BSI Knowledge

การค้นหายอดนิยม

  • ISO 14064-1
  • ISO/IEC 27701
  • Lean Six Sigma
  • Business and Process Improvement

Effective Production Planning and Control

การวางแผนและการควบคุมการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  • เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นของหัวหน้างานในการวางแผนและการควบคุมการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพ
  • เพื่อพัฒนาทักษะการคิดปรับปรุงเชิงผลิตภาพ (Productivity Improvement)

เนื้อหาของหลักสูตร

หัวหน้างานกับการเปลี่ยนแปลงของโลก (Global Trend)

  • การวางแผนงาน
  • การสอนและติดตามงาน
  • การแก้ไขปัญหางาน
  • หัวหน้างานกับการพัฒนาความสามารถของทีมงาน
  • หัวหน้างานกับการเข้าใจและสร้างจูงใจทีมงาน
  • หัวหน้างานกับแนวคิดการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity Concept)

ผู้ควรเข้ารับการอบรม

  • หัวหน้างานระดับต้น ระดับกลาง ในองค์กรทั้งภาคผลิต ภาคบริการ
  • วิศวกร หรือช่างเทคนิค
  • ผู้ที่เตรียมตัวเป็นหัวหน้างานในอนาคต
  • ราคานี้รวมค่าเอกสารประกอบการฝึกอบรม
  • ราคายังไม่รวม Vat 7% สามารถหัก ณ ที่จ่ายได้
  • ผู้เข้าอบรมจะได้รับใบรับรองของ BSI Training Academy หลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรม

Linkedin logo

หลักสูตร อบรม

  • Tel: 089-999-3466
  • [email protected]
  • ▶ ISO9001 , IATF16949
  • ▶ ISO14001 , ISO45001 , ISO50001 , RoHS
  • ▶ Productivity
  • ▶ LEAN & 6 SIXMA
  • ▶ TQM , Management , RBA
  • ▶ GHP , HACCP , ISO22000 , BRC
  • ▶ Public Training
  • บริการที่ปรึกษา
  • ลูกค้าของเรา
  • ตัวอย่างเอกสารสอน

ISO9001:2015,IATF16949:2016

หลักสูตร การพัฒนาแผนควบคุม control plan development 1st edition ( mar 2024 ) 1 / 2 day.

  • Facebook icon Facebook
  • Twitter icon Twitter
  • LINE icon Line

บทนำ  หลักสูตร Control Plan

business planning and control system คือ

ในการออกแบบ Control Plan จะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการในการวิเคราะห์ความเสี่ยง FMEA เพื่อนำผลการวิเคราะห์และแนวทางการควบคุมป้องกันมาใช้เป็นแนวทางการควบคุม

วัตถุประสงค์ หลักสูตร Control Plan เพื่อให้ผู้ฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบและพัฒนาแผนควบคุมของกระบวนการที่ตนเองรับผิดชอบจากข้อมูลป้อนเข้า เช่น FMEA และ Process Flow

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้จัดการ หัวหน้างาน และผู้ที่สนใจ จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น

กำหนดการอบรม วันที่ 1 บทนำ – วัตถุประสงค์การทำระบบ QMS อุตสาหกรรมยานยนต์ – Core Tools for IATF16949:2016 – Control Plan คืออะไร – การเปลี่ยนแปลงหลักที่จะพบในคู่มือแผนการควบคุมฉบับใหม่ – ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง บทที่ 1 ข้อกำหนดและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับแผนควบคุม 1.1 แบบฟอร์มแผนควบคุม 1.2 คุณลักษณะพิเศษ 1.3 คุณลักษณะการส่งผ่าน (PTC) 1.4 การยืนยันการป้องกันข้อผิดพลาด 1.5 แผนควบคุมกลุ่มผลิตภัณฑ์ 1.6 กระบวนการ และ/หรือ แผนควบคุมที่สัมพันธ์กัน 1.7 กระบวนการแก้ไขงานและซ่อมแซม 1.8 รายละเอียดของแผนตอบโต้ 1.9 การตรวจสอบด้วยสายตา 100% 1.10 กระบวนการ Black-Box 1.11 องค์กรที่ไม่ใช่องค์กรที่รับผิดชอบการออกแบบ 1.12 อุปทานที่กำหนด 1.13 การใช้ซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาและจัดการแผนควบคุม บทที่ 2 การพัฒนาแผนควบคุม 2.1 การเริ่มต้นใช้งาน 2.2 การกำหนดช่วงเวลาและการประสานงานระหว่างทีม APQP และทีม CP 2.3 ปัจจัยนำเข้า (ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงหัวข้อในคู่มือ APQP) 2.4 ผลลัพธ์ (ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงหัวข้อในคู่มือ APQP) 2.5 ช่องต่างๆ ในแบบฟอร์ม บทที่ 3 แผนควบคุมในระยะต่างๆ 3.1 แผนควบคุมต้นแบบ 3.2 แผนควบคุมการทดลองผลิต 3.3 แผนควบคุมการผลิต และ แผนควบคุมการเริ่มผลิตอย่าง ปลอดภัย บทที่ 4 การใช้แผนควบคุมอย่างมีประสิทธิผล 4.1 การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบของกระบวนการแบบ ย้อนกลับ (Reverse PFMEA) 4.2 การใช้ซอฟต์แวร์ในการพัฒนาและจัดการแผนควบคุมและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 4.3 การตรวจประเมินกระบวนการจากหลายระดับชั้นเพื่อทวน สอบแผนควบคุม 4.4 แผนควบคุมในกระบวนการอัตโนมัติขั้นสูง 4.5 การใช้ Family FMEA และ Foundation FMEA 4.6 การควบคุมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บและการขนถ่าย 4.7 การจัดการความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับแผนควบคุม Workshop – การพัฒนาแผนควบคุม (ดำเนินการระหว่างอธิบายบทที่ 2-3)

วันที่ 2 ติดตามผลการพัฒนาและให้คำแนะนำ

รูปแบบการอบรม – บรรยาย 30% Workshop 70%

ลูกค้าต้องจัดเตรียม – Drawing – Main Process Flow Chart และ Element Process Flow Chart – Control Plan Special Characteristics – Characteristics Matrix – PFMEA – รายชื่อเอกสารคู่มือการทำงาน ( WI )

System Analysis and Design Tutorial

  • System Analysis and Design Tutorial
  • System Analysis and Design - Home
  • System Analysis & Design - Overview
  • System Development Life Cycle
  • System Planning
  • Structured Analysis
  • System Design
  • Design Strategies
  • Input / Output & Forms Design
  • Testing and Quality Assurance
  • Implementation & Maintenance
  • System Security and Audit
  • Object-Oriented Approach
  • System Analysis & Design Resources
  • Quick Guide
  • Useful Resources
  • Selected Reading
  • UPSC IAS Exams Notes
  • Developer's Best Practices
  • Questions and Answers
  • Effective Resume Writing
  • HR Interview Questions
  • Computer Glossary

System Analysis & Design - System Planning

What is requirements determination.

A requirement is a vital feature of a new system which may include processing or capturing of data, controlling the activities of business, producing information and supporting the management.

Requirements determination involves studying the existing system and gathering details to find out what are the requirements, how it works, and where improvements should be made.

Major Activities in requirement Determination

Requirements anticipation.

It predicts the characteristics of system based on previous experience which include certain problems or features and requirements for a new system.

It can lead to analysis of areas that would otherwise go unnoticed by inexperienced analyst. But if shortcuts are taken and bias is introduced in conducting the investigation, then requirement Anticipation can be half-baked.

Requirements Investigation

It is studying the current system and documenting its features for further analysis.

It is at the heart of system analysis where analyst documenting and describing system features using fact-finding techniques, prototyping, and computer assisted tools.

Requirements Specifications

It includes the analysis of data which determine the requirement specification, description of features for new system, and specifying what information requirements will be provided.

It includes analysis of factual data, identification of essential requirements, and selection of Requirement-fulfillment strategies.

Information Gathering Techniques

The main aim of fact finding techniques is to determine the information requirements of an organization used by analysts to prepare a precise SRS understood by user.

Ideal SRS Document should −

  • be complete, Unambiguous, and Jargon-free.
  • specify operational, tactical, and strategic information requirements.
  • solve possible disputes between users and analyst.
  • use graphical aids which simplify understanding and design.

There are various information gathering techniques −

Interviewing

Systems analyst collects information from individuals or groups by interviewing. The analyst can be formal, legalistic, play politics, or be informal; as the success of an interview depends on the skill of analyst as interviewer.

It can be done in two ways −

Unstructured Interview − The system analyst conducts question-answer session to acquire basic information of the system.

Structured Interview − It has standard questions which user need to respond in either close (objective) or open (descriptive) format.

Advantages of Interviewing

This method is frequently the best source of gathering qualitative information.

It is useful for them, who do not communicate effectively in writing or who may not have the time to complete questionnaire.

Information can easily be validated and cross checked immediately.

It can handle the complex subjects.

It is easy to discover key problem by seeking opinions.

It bridges the gaps in the areas of misunderstandings and minimizes future problems.

Questionnaires

This method is used by analyst to gather information about various issues of system from large number of persons.

There are two types of questionnaires −

Open-ended Questionnaires − It consists of questions that can be easily and correctly interpreted. They can explore a problem and lead to a specific direction of answer.

Closed-ended Questionnaires − It consists of questions that are used when the systems analyst effectively lists all possible responses, which are mutually exclusive.

Advantages of questionnaires

It is very effective in surveying interests, attitudes, feelings, and beliefs of users which are not co-located.

It is useful in situation to know what proportion of a given group approves or disapproves of a particular feature of the proposed system.

It is useful to determine the overall opinion before giving any specific direction to the system project.

It is more reliable and provides high confidentiality of honest responses.

It is appropriate for electing factual information and for statistical data collection which can be emailed and sent by post.

Review of Records, Procedures, and Forms

Review of existing records, procedures, and forms helps to seek insight into a system which describes the current system capabilities, its operations, or activities.

It helps user to gain some knowledge about the organization or operations by themselves before they impose upon others.

It helps in documenting current operations within short span of time as the procedure manuals and forms describe the format and functions of present system.

It can provide a clear understanding about the transactions that are handled in the organization, identifying input for processing, and evaluating performance.

It can help an analyst to understand the system in terms of the operations that must be supported.

It describes the problem, its affected parts, and the proposed solution.

Observation

This is a method of gathering information by noticing and observing the people, events, and objects. The analyst visits the organization to observe the working of current system and understands the requirements of the system.

It is a direct method for gleaning information.

It is useful in situation where authenticity of data collected is in question or when complexity of certain aspects of system prevents clear explanation by end-users.

It produces more accurate and reliable data.

It produces all the aspect of documentation that are incomplete and outdated.

Joint Application Development (JAD)

It is a new technique developed by IBM which brings owners, users, analysts, designers, and builders to define and design the system using organized and intensive workshops. JAD trained analyst act as facilitator for workshop who has some specialized skills.

Advantages of JAD

It saves time and cost by replacing months of traditional interviews and follow-up meetings.

It is useful in organizational culture which supports joint problem solving.

Fosters formal relationships among multiple levels of employees.

It can lead to development of design creatively.

It Allows rapid development and improves ownership of information system.

Secondary Research or Background Reading

This method is widely used for information gathering by accessing the gleaned information. It includes any previously gathered information used by the marketer from any internal or external source.

It is more openly accessed with the availability of internet.

It provides valuable information with low cost and time.

It act as forerunner to primary research and aligns the focus of primary research.

It is used by the researcher to conclude if the research is worth it as it is available with procedures used and issues in collecting them.

Feasibility Study

Feasibility Study can be considered as preliminary investigation that helps the management to take decision about whether study of system should be feasible for development or not.

It identifies the possibility of improving an existing system, developing a new system, and produce refined estimates for further development of system.

It is used to obtain the outline of the problem and decide whether feasible or appropriate solution exists or not.

The main objective of a feasibility study is to acquire problem scope instead of solving the problem.

The output of a feasibility study is a formal system proposal act as decision document which includes the complete nature and scope of the proposed system.

Steps Involved in Feasibility Analysis

The following steps are to be followed while performing feasibility analysis −

Form a project team and appoint a project leader.

Develop system flowcharts.

Identify the deficiencies of current system and set goals.

Enumerate the alternative solution or potential candidate system to meet goals.

Determine the feasibility of each alternative such as technical feasibility, operational feasibility, etc.

Weight the performance and cost effectiveness of each candidate system.

Rank the other alternatives and select the best candidate system.

Prepare a system proposal of final project directive to management for approval.

Feasibility Analysis

Types of Feasibilities

Economic feasibility.

It is evaluating the effectiveness of candidate system by using cost/benefit analysis method.

It demonstrates the net benefit from the candidate system in terms of benefits and costs to the organization.

The main aim of Economic Feasibility Analysis (EFS) is to estimate the economic requirements of candidate system before investments funds are committed to proposal.

It prefers the alternative which will maximize the net worth of organization by earliest and highest return of funds along with lowest level of risk involved in developing the candidate system.

Technical Feasibility

It investigates the technical feasibility of each implementation alternative.

It analyzes and determines whether the solution can be supported by existing technology or not.

The analyst determines whether current technical resources be upgraded or added it that fulfill the new requirements.

It ensures that the candidate system provides appropriate responses to what extent it can support the technical enhancement.

Operational Feasibility

It determines whether the system is operating effectively once it is developed and implemented.

It ensures that the management should support the proposed system and its working feasible in the current organizational environment.

It analyzes whether the users will be affected and they accept the modified or new business methods that affect the possible system benefits.

It also ensures that the computer resources and network architecture of candidate system are workable.

Behavioral Feasibility

It evaluates and estimates the user attitude or behavior towards the development of new system.

It helps in determining if the system requires special effort to educate, retrain, transfer, and changes in employee’s job status on new ways of conducting business.

Schedule Feasibility

It ensures that the project should be completed within given time constraint or schedule.

It also verifies and validates whether the deadlines of project are reasonable or not.

To Continue Learning Please Login

business planning and control system คือ

เทคนิคการวางแผนและควบคุมการผลิต ” (Production Planning and Control)

business planning and control system คือ

หลักการและเหตุผล

การจัดการและควบคุมการผลิตผลิต ( Production Planning and Control ) เป็นหลักการในการกำหนดคุณค่าของการดำเนินงานผลิตและกำจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตออกไปได้อย่างเหมาะสม ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง และทำให้เวลาการผลิตสั้นลงหรือเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นโดยใช้เวลาเท่าเดิมหรือลดลง รวมถึงสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด การวางแผนการผลิตที่ดีจะทำให้สามารถติดตามงานการผลิตและควบคุมการผลิตให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาการผลิตและส่งมอบที่ไม่ทันหรือไม่ครบถ้วนได้ ที่สำคัญแผนการผลิตที่ดีจะทำให้เราทราบถึงปัญหาก่อนที่มันจะเกิดและถูกป้องกันมิให้ปัญหาเหล่านั้นเกิดขึ้นมาอีกได้อีก

วัตถุประสงค์

เพื่อสามารถจัดระเบียบการไหลของงานในระบบผลิต และติดตามการทำงานนั้นว่าเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ เพื่อที่จะได้สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ทันเวลา หรือเป็นการเตรียมและจัดการทรัพยากรและความต้องการ ตลอดจนทางเลือกต่างๆให้เกิดความพร้อมสำหรับการผลิต เพื่อให้บรรลุตามแผนการที่ได้กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึง การปฏิบัติตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ในทุกขั้นตอนรายละเอียดอย่างครบถ้วน เพื่อสามารถผลิตสินค้าได้ตามแผนที่ต้องการ

เนื้อหาของหลักสูตร

1. การวิเคราะห์เส้นทางการผลิตสินค้าด้วยการสร้างสายธารแห่งคุณค่าการผลิต ( Value Stream Mapping ) เพื่อระบุสิ่งที่มีคุณค่าและสิ่งที่เป็นความสูญเปล่าที่แฝงอยู่ในแต่ละขั้นตอนการผลิตได้อย่างชัดเจน และตั้งเป้าหมายให้ลดลงหรือกำจัดให้หมดสิ้นไป

2. การวัดค่า Cycle time การผลิตสินค้าแต่ละชนิดอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง เพื่อทราบระยะเวลาการผลิตสินค้าต่อหน่วย และตั้งเป็นเวลาเป้าหมายในการผลิตสินค้าที่ชัดเจนต่อไป

3. หลักผลิตแบบสมดุลการผลิตในการออกแบบตารางวางแผนผลิตประจำวันสัปดาห์รายวันอย่างเหมาะสม เพื่อสามารถใช้ทรัพยากรการผลิตได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม ซึ่งจะทำให้สามารถลดเวลาการผลิตนอกเวลาหรือ Over time ได้ และสามารถแทรกงานการผลิตได้ขึ้น รวมถึงการใช้วัตถุดิบและเครื่องจักรได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

4. ศึกษาและสร้างสูตรการผลิตสินค้า ( Bill of Material : BOM ) อย่างชัดเจน เพื่อนำไปสร้างตารางแผนการผลิตหลัก MPS ( Master Production Schedule ) และแผนการใช้วัตถุดิบ MRP ( Material Resource Planning ) ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้เกิดฝ่ายวางแผนการผลิตที่มีหน้าที่ในการออกแบบและ ประสานงานการผลิตกับฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่ายคลังสินค้าวัตถุดิบ ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่าย รวมถึงฝ่ายขนส่งเพื่อให้เกิดการบูรณาการ ( Integrated ) ด้านการวางแผนการผลิตที่มีประสิทธิภาพและทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการทำงานอย่างแท้จริง

5. ใช้หลักการการจัดลำดับงานและตารางการผลิต ( Sequencing and Scheduling ) ในการจัดลำดับงานการผลิตได้อย่างเหมาะสมกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม เพื่อสร้างความพึงพอใจและเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานให้กับลูกค้าได้

6. การใช้เครื่องมือต่างๆที่มีอยู่ในการจัดการแบบลีน ( Lean Tools ) เพื่อกำจัดความสูญเปล่าออกจากกระบวนการที่เป็นคอขวด ( Waste in Bottom neck ) เพิ่มความรวดเร็วในการไหลของวัตถุดิบและสินค้าให้มากขึ้น ( Material Flow ) รวมถึงสร้างมาตรฐานการทำงาน ( Standardized Work ) ให้เกิดความสมบูรณ์แบบ ( Perfection ) ขึ้น

7. สร้างแผนการผลิตหลัก ( Master Production Schedule : MPS ) ซึ่งจะเน้นไปในเรื่องของแผนการผลิตสินค้าสำเร็จรูปหรือกลุ่มของสินค้าสำเร็จรูปตามปริมาณที่ลูกค้าต้องการหรือจากการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ ทำให้สามารถผลิตสินค้าและส่งมอบสินค้าได้อย่างครบถ้วน ลดการมี Dead Stock หรือสินค้าคงคลังที่ไม่เคลื่อนไหวลง ทำให้การใช้พื้นที่หรือขนาดของโรงงานลดลงได้

********** ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ใดๆ ทั้งสิ้น **********

......................................................................

โปรโมชั่นสำหรับ   Onsite   เมื่อสำรองที่ 2   ท่านรับส่วนลดรวม 800   บาท , สมัคร 4 จ่าย 3   (ปกติ 3,900   บาท/ท่าน)  

โปรโมชั่นสำหรับ Online ท่านละ 2,500 สมัคร 4 จ่าย 3

**ลิงก์ใบสมัคร   https://forms.gle/fezvGQTuRvHHm5tr7  

รายละเอียดเพิ่มเติม

- อัตราค่าสัมมนา ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม

- ราคารวม เอกสารการอบรม / อาหารว่างและอาหารกลางวันตลอดหลักสูตร ( สำหรับหลักสูตร On-Site)

- ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมสัมมนา สามารถลดหย่อนภาษีได้ 200%

- มีวุฒิบัตรมอบให้ พร้อมเอกสารประกอบการบรรยาย ฟรี

สอบถามและสำรองที่นั่งได้ที่ คุณเล็ก

โทร/ Line : 063-846-6405

E-mail: [email protected]

www.chosenthebest.com

*** สามารถจัดเป็น In-House Training อบรมภายในได้***

บรรยายโดย อ.อนันต์ ดีโรจนวงศ์

business planning and control system คือ

สถานที่อบรม (VENUE)

รูปแบบการสัมมนาเป็นแบบผสมระหว่าง Onsite และ Online

business planning and control system คือ

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

27 มกราคม 2566 09.00-16.00

business planning and control system คือ

โชเซ่น เดอะ เบสท์ เบอร์ติดต่อ : 0638466405

business planning and control system คือ

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3900 และ 2500 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

business planning and control system คือ

บริษัท ฟลูเทค จำกัด

  • Request Quote
  • LINE : @flutech.co.th

Product OverView

business planning and control system คือ

Industrial Automation and Control System หรือ ระบบ IACS คือ

Industrial Automation and Control System หรือที่เรียกโดยย่อว่า IACS คือ ระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมและระบบควบคุม ตามมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบควบคุมอุตสาหกรรม IEC 62443 หมายถึงบุคลากร ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ที่สามารถส่งผลกระทบหรือมีอิทธิพลต่อการทำงานในด้านของความปลอดภัย ความมั่นคง และความน่าเชื่อถือได้ของกระบวนการทางอุตสาหกรรม ระบบไอเอซีเอสส่วนใหญ่สามารถดำเนินการหรือตรวจสอบจากระยะไกลได้ แต่ความเสี่ยงและความท้าทายในใช้งานอาจแตกต่างกันไปตามประเภทของระบบและฟังก์ชัน

ระบบ IACS ประกอบด้วยเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน หรือ Operational Technology (OT) รูปแบบต่างๆ เทคโนโลยีการปฏิบัติงาน OT หมายถึงฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในระบบควบคุมอุตสาหกรรม เช่น SCADA   PLC RTU DCS ICS   PAC  และ  MTU ซึ่งทำหน้าที่เป็นรากฐานของโครงสร้างพื้นฐานหลักที่สำคัญต่างๆ รวมถึงอุตสาหกรรมที่จำเป็นต่อความปลอดภัยและคุณภาพชีวิต อาทิเช่น ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ อันได้แก่ การไฟฟ้า การประปา การบําบัดนํ้าเสีย การป้องกันอัคคีภัย การกำจัดขยะ การคมนาคมขนส่ง ฯลฯ

Industrial Automation and Control Systems (IACS) - What is Industrial Automation? Increase Quality and Flexibility in Your Manufacturing Process - Article by FluTech Co., Ltd - บทความโดยบริษัท ฟลูเทค จำกัด

Operational Technology ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ตรวจจับหรือทำให้เกิดการปฏิบัติงานผ่านการตรวจสอบโดยตรงและ/หรือการควบคุมกระบวนการกระบวนการทางกายภาพโดยตรงและ/หรือการควบคุมกระบวนการทางกายภาพผ่านการใช้อุปกรณ์ เทคโนโลยี และระบบต่างๆ IACS และ OT จะถูกพบได้ในสภาพแวดล้อมเชิงอุตสาหกรรมหลายแห่ง เช่น โครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ/โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ (Critical Infrastructure) และโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต

OT Security - The Importance of Operational Technology (OT) Systems and Networks such as Industrial Control and Supervisory Control and Data Acquisition Systems - ICS / SCADA - Flu-Tech Co., Ltd - บริษัท ฟลูเทค จำกัด

ตัวอย่างของสินทรัพย์เทคโนโลยีออปเปอร์เรชั่น OT Assets หรืออุปกรณ์ดิจิทัลที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีด้านการปฏิบัติการ ได้แก่ PLC SCADA  และระบบบริหารจัดการตึกและอาคาร Building Management System (BMS) และเนื่องจากเทคโนโลยีและการใช้ข้อมูลนี้มีการพัฒนาก้าวหน้าและผสานเข้ากับเทคโนโลยีอื่นๆ การรักษาความปลอดภัย OT Security จึงมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ

การรักษาความปลอดภัยของเทคโนโลยีโอทีนี้ต้องการแนวทางปฏิบัติงานที่แตกต่างและเฉพาะเจาะจงกับ IT Security / Cyber Security / Computer Security ซึ่งก็คือพื้นฐานของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือความปลอดภัยทางข้อมูล เนื่องจากลำดับความสำคัญและเทคโนโลยีต่างกัน

คำจำกัดความของคำศัพท์เกี่ยวกับระบบ IACS

Industrial automation and control system taxonomy definitions of terms.

Industrial Automation and Control System Taxonomy Definitions of Terms - Flutech Thailand

1) Industrial Automation and Control System (IACS)

หมายถึง ระบบควบคุมและส่วนประกอบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เสริมใดๆ ที่ได้รับการติดตั้งและกำหนดค่าให้ทำงานในระบบ IACS เช่น SCADA   PLC RTU DCS ICS   PAC  ฯลฯ

2) Automation Solution (โซลูชันระบบอัตโนมัติ)

หมายถึง การรวบรวมบุคลากร ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ขั้นตอน และนโยบายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของกระบวนการทางอุตสาหกรรม ซึ่งอาจส่งผลกระทบหรือมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานในด้านของความปลอดภัย ความมั่นคง และความน่าเชื่อถือได้

3) System under Consideration,  SuC  ( ระบบที่อยู่ระหว่างการพิจารณา )

หมายถึง การรวบรวมสินทรัพย์และสิ่งอื่นที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบไอเอซีเอส เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย SuC ประกอบด้วยโซนมากกว่าหนึ่งโซนและท่อร้อยสายไฟที่เกี่ยวข้อง สินทรัพย์ทั้งหมดภายใน SuC จะอยู่ในโซนไม่ก็ท่อร้อยสาย ที่ใดที่หนึ่ง

4) Process (กระบวนการ)

หมายถึง กิจกรรมสัมพันธ์หรือปฏิสัมพันธ์หนึ่งซึ่งแปลงอินพุตเป็นเอาต์พุต อินพุตของโปรเซสโดยทั่วไปคือเอาต์พุตของโปรเซสอื่น กระบวนการในองค์กรโดยทั่วไปมีการวางแผนและดำเนินการภายใต้สภาวะควบคุมเพื่อเพิ่มมูลค่า

5) Zone (โซน / เขต)

หมายถึง คอลเลกชันของเอนทิตีที่แสดงถึงการแบ่งพาร์ติชันของระบบภายใต้การพิจารณาตามความสัมพันธ์ของการทำงาน (Functional) ตรรกะลอจิก (Logical) และทางกายภาพ (Physical) รวมไปถึงตำแหน่งที่ตั้ง

6) Conduit (ท่อร้อยสายไฟ)

หมายถึง การจัดกลุ่มเชิงตรรกะ (Logical Grouping) ของช่องสัญญาณการสื่อสาร ระหว่างการเชื่อมต่อสองโซนขึ้นไป ซึ่งใช้ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยร่วมกัน ท่อร้อยสายไฟสามารถผ่านโซนได้หากความปลอดภัยของช่องสัญญาณที่อยู่ภายในท่อไม่ได้รับผลกระทบจากขอบเขตโซนนั้นๆ นี่คล้ายคลึงกันกับวิธีที่ท่อร้อยสายไฟป้องกันสายเคเบิลจากความเสียหายทางกายภาพ

7)  System (ระบบ)

หมายถึง องค์ประกอบที่มีปฏิสัมพันธ์ สัมพันธ์กัน หรือพึ่งพาซึ่งกันและกัน แล้วก่อตัวเป็นระบบองค์รวมที่ซับซ้อน

8) Embedded Device (อุปกรณ์ฝังตัว)

หมายถึง อุปกรณ์สำหรับวัตถุประสงค์พิเศษที่ใช้ซอฟต์แวร์ฝังตัวซึ่งออกแบบมาเพื่อตรวจสอบ ควบคุม หรือสั่งงานกระบวนการทางอุตสาหกรรมโดยตรง คุณลักษณะทั่วไปรวมไปด้วย การไม่มีสื่อตัวกลางหมุนเวียน บริการจำนวนจำกัด การตั้งโปรแกรมผ่านอินเทอร์เฟซภายนอก การใช้ระบบปฏิบัติการแบบฝังตัว (OSs) หรือเฟิร์มแวร์เทียบเท่า ตัวกำหนดตารางเวลาแบบเรียลไทม์ อาจมีแผงควบคุมที่เสริมมา และอาจมีอินเทอร์เฟซการสื่อสาร ตัวอย่าง ได้แก่ DCS   PLC  และ SIS

9) Host Device (อุปกรณ์โฮสต์)

หมายถึง อุปกรณ์อเนกประสงค์ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานทั่วไป เช่น Microsoft Windows OS ((ไมโครซอฟท์ วินโดวส์) หรือ Linux Operating Systems (ลินุกซ์) อุปกรณ์สามารถโฮสต์แอปพลิเคชันได้มากกว่าหนึ่งรายการ เก็บข้อมูลหรือฟังก์ชั่น คุณลักษณะทั่วไปของ Host Device ได้แก่ สื่อกลางมีเดียหมุนเวียน ไม่มีตัวกำหนดตารางเวลาแบบเรียลไทม์ และ HMI เต็มรูปแบบ เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ ฯลฯ

10) Network Device (อุปกรณ์เน็ตเวิร์ค / เครือข่าย)

หมายถึง อุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกในการรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ หรือจำกัดการไหลของข้อมูล แต่ไม่สามารถโต้ตอบโดยตรงกับกระบวนการควบคุม คุณลักษณะทั่วไป ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ OS หรือเฟิร์มแวร์แบบฝังตัว ไม่มี HMI ไม่มีตัวกำหนดตารางเวลาแบบเรียลไทม์ และกำหนดค่าผ่านอินเทอร์เฟซภายนอก

Industrial Process Automation Control System and How They Improve Businesses - Flu-Tech Thailand

ระบบไอเอซีเอสประเภทต่างๆ

Different types of iacs, safety instrumented system (sis).

ระบบวัดคุมความปลอดภัย Safety Instrumented System หรือ SIS / ESD ถูกนํามาใช้เป็นเวลานานหลายปีเพื่อทําฟังก์ชันวัดคุมความปลอดภัย (Safety Instrumented Function, SIF) ในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม ตามคำจำกัดความใน มาตรฐานสากล IEC 61511-1 คือ ระบบเครื่องมือที่ใช้ในการปรับใช้ SIF มากกว่าหนึ่งตัวขึ้นไป ระบบเครื่องมือเพื่อความปลอดภัย (SIS) ประกอบด้วยชุดควบคุมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ได้รับการออกแบบทางวิศวกรรม ซึ่งถูกใช้โดยเฉพาะในระบบกระบวนการที่สำคัญ ระบบได้รับการออกแบบมาเพื่อดำเนินการ “ฟังก์ชันการควบคุมเฉพาะ” เพื่อป้องกันความล้มเหลวแลพรักษาการทำงานที่ปลอดภัยเมื่อเกิดสภาวะไม่พึงประสงค์หรืออันตราย ระบบเครื่องมือวัดความปลอดภัยเอสไอเอสมักถูกใช้ในกระบวนการผลิตที่มีความเสี่ยงสูง สามารถเกิดการระเบิดหรืออัคคีภัยได้ง่าย อาทิเช่น ในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง อุตสาหกรรมเคมี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฯลฯ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย เช่น เมื่อแรงดันแก๊สเชื้อเพลิงสูง วาล์วแก๊สเชื้อเพลิงหลักจะปิด หรือ เมื่ออุณหภูมิของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์สูง วาล์วระบายความร้อนจะเปิด

Basic Process Control System (BPCS)

ระบบควบคุมกระบวนการพื้นฐาน หรือ BPCS เป็นระบบที่จัดการการควบคุมกระบวนการและตรวจสอบไซต์การผลิตหรือชิ้นส่วนของอุปกรณ์ ตัวบีพีซีเอสจะใช้อินพุตจากเซ็นเซอร์และเครื่องมือวัดในกระบวนการเพื่อให้ได้เอาต์พุตตามกลยุทธ์การควบคุมการออกแบบ (Design Control Strategy / Quality by Design, QbD) ที่ได้รับการอนุมัติ ตามคำจำกัดความใน มาตรฐานสากล IEC 61511-1 BPCS คือ ระบบที่ตอบสนองต่อสัญญาณอินพุตจากโพรเซสหรือกระบวนการ เครื่องมือและอุปกรณ์อุตสาหกรรม ระบบที่ตั้งโปรแกรมได้อื่นๆ และ/หรือ ตัวดำเนินการโอเปอเรเตอร์ (Operators) และสร้างสัญญาณเอาต์พุตที่ทำให้ปัจจัยการผลิตมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ได้ผลผลิตตามต้องการ

Basic Process Control System (BPCS) - ระบบการวัดและควบคุมของตัวแปรต่างๆ ที่ถูกใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตให้ปลอดภัย - Flu-Tech Thailand - บริษัท ฟลูเทค จํากัด

หน้าที่ของระบบ BPCS:

  • สร้างรายงานข้อมูลการผลิต/การดำเนินงาน
  • จัดให้มีการแจ้งเตือนและการบันทึกเหตุการณ์ (Event Logging) และ การคาดการณ์แนวโน้ม
  • จัดเตรียมอินเตอร์เฟซผู้ดำเนินการหรือหน่วยติดต่อและปฏิบัติงาน (Operator Interface) สำหรับการตรวจสอบและควบคุมผ่านคอนโซล Human-Machine Interface (HMI)
  • ควบคุมกระบวนการให้อยู่ในสภาวะที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไลน์ผลิตในโรงงานเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และพยายามรักษาตัวแปรของกระบวนการทั้งหมดให้อยู่ในขีดจำกัดความปลอดภัย

Integrated control system can reduce cybersecurity risk

Safety Instrumented Systems (SIS) VS. Basic Process Control Systems (BPCS) - IACS Systems - Flu-Tech Thailand

อ้างอิง: KIWA , TISI , ISA , DPT , FORTINET , NIST , INSTRUMENTATION TOOLS ,  ASSET GUARDIAN , REALPARS

กรุณาติดต่อเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม:

โทร: 02-384-6060   | ไลน์: @flutech.co.th   | อีเมล: [email protected]   | เฟสบุ๊ค: @flutech.co.th   | เว็บไซต์: https://flutech.co.th.

business planning and control system คือ

  • REQUEST QUOTE

เข้าสู่ระบบ

ชื่อผู้ใช้หรือที่อยู่อีเมล  *

รหัสผ่าน  *

จำฉันไว้ เข้าสู่ระบบ

ลืมรหัสผ่านของคุณ?

IMAGES

  1. Management Control System: Objectives, Functions and Advantages

    business planning and control system คือ

  2. Effective Control System: 8 Major Characteristics

    business planning and control system คือ

  3. Business Planning and Control System The Ultimate Step-By-Step Guide

    business planning and control system คือ

  4. Planning and Control

    business planning and control system คือ

  5. 5 Stages of a Successful Manufacturing Planning and Control System

    business planning and control system คือ

  6. Concepts of planning and control in management

    business planning and control system คือ

VIDEO

  1. Production Management-Production Planning and Control ( PPC ) and its elements

  2. Business Model Canvas [BMC] ตัวช่วยสรุปแผนธุรกิจไว้ในหน้าเดียว

  3. Project Management คืออะไร? (TH)

  4. Work Breakdown Structure (WBS) คืออะไร? (TH)

  5. SAP Business ByDesign คืออะไร? ERP คืออะไร?

  6. ทำความเข้าใจอย่างง่าย “การควบคุมกระบวนการ คืออะไร?” ระบบการวัดคุม อัตโนมัติ automation

COMMENTS

  1. วิธีเขียนแผนธุรกิจ

    แผนธุรกิจคืออะไร (Business Plan) แผนธุรกิจ (Business Plan) หมายถึงเอกสารที่จัดเรียงเป้าหมายของธุรกิจ และแผนการกิจกรรมต่างๆที่ทำให้ธุรกิจ ...

  2. 10 องค์ประกอบแผนธุรกิจ และวิธีเขียนแผนธุรกิจที่ถูกต้อง [ใช้งานได้จริง]

    แผนธุรกิจคืออะไร . แผนธุรกิจ (Business Plan) คือ เอกสารที่ระบุรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับธุรกิจว่าธุรกิจจะทำอะไร เพื่อจุดประสงค์อะไร และจะต้องทำ ...

  3. แผนธุรกิจ

    แผนธุรกิจเป็นแถลงการณ์อย่างเป็นทางการถึงชุดเป้าหมายทางธุรกิจ, เหตุผลที่เชื่อว่าจะสามารถบรรลุได้ และแผนการบรรลุเป้าหมายนั้น แผนธุรกิจ ...

  4. แผนธุรกิจ คืออะไร? ข้อดีข้อเสียและองค์ประกอบ

    Business Plan หรือ แผนธุรกิจ คือ เครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการทุกคนสามารถสร้างธุรกิจของตนเองขึ้นมาได้ตามแผนงานที่ถูก ...

  5. แผนธุรกิจ (Business Plan) คืออะไร

    แผนธุรกิจ (Business Plan) คือ แผนการดำเนินงานธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย โดยครอบคลุมแผนธุรกิจด้านต่างๆ ...

  6. เทคนิคเขียนแผน ...

    แผนธุรกิจ หรือ Business Plan คือเครื่องมือที่สำคัญในการวางแผนธุรกิจ โดยเฉพาะในธุรกิจ SMEs หรือ Start Up ซึ่งเป็นการรวบรวมแนวความคิด ...

  7. Business Planning and Control System

    BPCS was developed by Chicago-based System Software Associates (SSA), which later became SSA Global Technologies [1] (which was then acquired by Infor Global Solutions and rebranded as Infor LX), and is used to control the operations of manufacturing companies. BPCS includes MRP logic to manufacturing operations, provided there are high ...

  8. PDF Business Planning Practice Program การสร้างและทําแผนธุรกิจอย่างมี

    Business Planning Practice Program 3.1 การกาหนดเป้าหมายบริษทั: เป็นปัจจยัสาคญัในการกาหนดกลยุทธ์ ภารกิจของธุรกิจ Business Mission โอกาสและอุปสรรค จากภายนอก

  9. Business Planning and Control System (BPCS)

    The Business Planning and Control System (BPCS) is an enterprise resource planning (ERP) software package that helps organizations manage their business operations. BPCS was originally developed by System Software Associates (SSA) in the 1980s and was widely used by companies in the manufacturing and distribution industries. The software is ...

  10. Business Planning and Control System

    Business Planning and Control System: In enterprise IT, Business Planning and Control System software (BPCS) is a type of enterprise resource planning (ERP) software. Business Planning and Control System resources help with certain kinds of supply-chain issues, as well as other types of business processes and business planning. BPCS is also a ...

  11. คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity

    เอกสารคู่มือการจัดทำแผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (APEC Guidebook on SME Business Continuity Planning, M SCE 02 11A) นี้จะช่วยแนะนำวิธีการสร้าง BCP ในบริษัทของคุณ โดยมีขั้นตอน ...

  12. The Connection Between Planning and Controlling: A Step-by-Step Guide

    💡 Features of a Good Control System: ... Importance of planning in business. Planning serves as the guiding force in an organization, providing direction and reducing uncertainty. It promotes innovative ideas and a better use of resources by focusing on the organizational goals. By anticipating changes in the business environment, planning ...

  13. ระบบ Erp คืออะไร? สรุปครบ จบในที่เดียว! [รู้ยันค่าใช้จ่าย]

    ทำความรู้จักกับระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) หากจะอธิบายง่ายที่สุด ระบบ ERP คือซอฟท์แวร์สำหรับการวางแผนการจัดการ โดยจะมีการรวมข้อมูลทุกอย่างบันทึกไว้ ...

  14. ระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรมสำคัญแค่ไหน ทำไมโรงงานต้องใส่ใจ

    Distributed Control Systems (DCS) ... SCADA คือระบบตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ คล้ายกับระบบ DCS เพียงแต่ว่าจะมีการใช้การควบคุมระยะ ...

  15. ระบบ Business Process Management (BPM) คืออะไร?

    We assembled our team in Bangkok, Thailand in 2014. Together, we have immersed ourselves in the Alfresco ECM platform. We have become worldwide leaders in Enterprise Management Systems software development. We use our experience to develop sophisticated custom software products for Asia's business community.

  16. business planning and control system คือ

    Business Planning and Control System (BPCS) is an Enterprise Resource Planning (ERP) software product. BPCS was developed by Chicago-based System Software Associates (SSA)... The study of operational techniques for control (which are based on decisionmaking models associated with the operational planning and budgeting process) allows for orienting and supporting management processes...

  17. Business Plan สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจที่หลายๆ คนมองข้าม

    ก่อนที่จะบริหารธุรกิจได้ ต้องเริ่มจากการบริหารตนเองให้ได้ โดยเริ่มจากการใส่ใจกับ "แผนธุรกิจ" (Business Plan) สิ่งที่คนมองข้ามไปแต่เป็นสิ่งสำคัญใน ...

  18. Effective Production Planning and Control

    การทดสอบและการรับรองผลิตภัณฑ์. ตรวจสอบความถูกต้องของใบรับรองที่ออกให้โดย BSI. หลักสูตรการฝึกอบรม. บริการต่างๆ เกี่ยวกับ ...

  19. หลักสูตร การพัฒนาแผนควบคุม Control Plan Development 1st Edition ( Mar

    Line; บทนำ หลักสูตร Control Plan. หลักสูตร Control Plan จะให้คำอธิบายสรุปเกี่ยวกับระบบที่ใช้ในการลดความแปรผันในกระบวนการและผลิตภัณฑ์ให้เหลือน้อยที่สุด ...

  20. PDF Planning & Organization (7 September 2013)

    Planning & Organization (7 September 2013) Result-based Management การวางแผนงาน เปนทกษะพนฐานอยางหนงในการบรหารจดการ. วตถประสงค% กาหนดแนวทางขนตอน หรอวธการในการปฏบตทจะ ...

  21. System Analysis & Design

    It also verifies and validates whether the deadlines of project are reasonable or not. System Analysis & Design - System Planning - A requirement is a vital feature of a new system which may include processing or capturing of data, controlling the activities of business, producing information and supporting the management.

  22. เทคนิคการวางแผนและควบคุมการผลิต " (Production Planning and Control

    การจัดการและควบคุมการผลิตผลิต (Production Planning and Control) เป็นหลักการในการกำหนดคุณค่าของการดำเนินงานผลิตและกำจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการ ...

  23. Industrial Automation and Control System หรือ ระบบ IACS คือ

    Industrial Automation and Control System Taxonomy Definitions of Terms. 1) Industrial Automation and Control System (IACS) หมายถึง ระบบควบคุมและส่วนประกอบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เสริมใดๆ ที่ได้รับการ ...